ฮูยา! เปิดตัวเลือดใหม่นักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล "บิ๊กปาน" ประธานมอบปีกเชิดชูเกียรติรุ่นที่ 1
#บูรณาการจิตอาสาพลเรือน-ทหาร-ตร.
#รุ่นที่2เล็งลุยหาดเมืองพัทยา จ.ชลบุรี
#เพิ่มดีกรีเซฟตีเที่ยวทะเลไทยสบายใจ
เมื่อวันที่ 27 ม.ค.66 พลเรือเอก เชษฐา ใจเปี่ยม อดีตโฆษกกองทัพเรือ เป็นประธานพิธีประดับเครื่องหมาย "นักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล" และมอบใบประกาศนียบัตร ให้กับผู้สำเร็จหลักสูตรนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล (RESCUE SWIMMER) ของชมรมกู้ภัยทางน้ำทางทะเล (SEA RESCUE)
โดยมี นาวาเอก พรพิชิต สุวรรณศิริ ผอ.โรงเรียนนาวิกเวชกิจ กรมแพทย์ทหารเรือ เรือเอก ดร.ฐาพล สมสกุล ประธานชมรมกู้ภัยทางน้ำทางทะเล ผอ.หลักสูตรและอำนวยการฝึก คณะครูฝึก และนักเรียนผู้สำเร็จการฝึก พร้อมแขกผู้มีเกียรติร่วมพิธี ณ หอประชุม โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ กรุงเทพฯ
พลเรือเอก เชษฐา ใจเปี่ยม ให้สัมภาษณ์ว่า “ได้เล็งเห็นถึงความมุ่งมั่นของ เรือเอก ดร.ฐาพลฯ นายทหารเรือคนสนิทในการต้องการใช้ความรู้ ความสามารถของเขาที่มีอยู่มาช่วยเหลือสังคม จึงได้พยายามสร้างหลักสูตรมาแล้วหลายหลักสูตร เช่น หลักสูตรกู้ภัยปฏิบัติการพิเศษ แต่เมื่อไม่ตอบโจทย์ในการเป็นนักกู้ภัย จึงได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการฝึกใหม่ทั้งหมด มาเป็นหลักสูตรนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล ที่มีพิธีในวันนี้”
พันตรี ณัฐพงศ์ หาญโชติช่วง ผู้สำเร็จการฝึกหลักสูตรนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล รุ่นที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า “ภาคภูมิใจมากที่ได้ฝึกและอบรมจนสำเร็จหลักสูตรนี้ ตอนเห็นภาพของรุ่นเตรียมความครูฝึกดูเหมือนง่าย แต่พอเข้าฝึกและอบรมด้วยตนเองแล้ว จึงรู้ว่ามันไม่ง่าย และที่สำคัญคือ เนื้อหาหลักสูตรฝึกแล้ว เรียนแล้วเอาไปใช้งานได้จริง หากชมรมฯ มีกิจกรรมอะไร พร้อมจะเข้าร่วมด้วยเสมอ”
ในขณะที่ เรือเอก ดร.ฐาพลฯ เปิดเผยถึงเจตนารมณ์เริ่มแรกว่า “จากอุบัติภัยทางน้ำที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เช่น คนจมน้ำ คนตกน้ำ หรือแม้กระทั่งเรือล่ม หรืออับปาง ประกอบกับภัยพิบัติทางน้ำทางทะเลที่มีความรุนแรงและมีความถี่ที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ วิกฤติสภาพภูมิอากาศของโลกนี้ มีผลให้เกิดพายุ หรือน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งและมีความถี่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะเราไม่สามารถประเมินค่าชีวิตของมนุษย์ที่ได้ จากปัญหาดังกล่าว ตนจึงพยายามสร้างหลักสูตรที่เกี่ยวกับการกู้ภัยทางน้ำทางทะเลขึ้น
#รุ่นที่2เล็งลุยหาดเมืองพัทยา จ.ชลบุรี
#เพิ่มดีกรีเซฟตีเที่ยวทะเลไทยสบายใจ
เมื่อวันที่ 27 ม.ค.66 พลเรือเอก เชษฐา ใจเปี่ยม อดีตโฆษกกองทัพเรือ เป็นประธานพิธีประดับเครื่องหมาย "นักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล" และมอบใบประกาศนียบัตร ให้กับผู้สำเร็จหลักสูตรนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล (RESCUE SWIMMER) ของชมรมกู้ภัยทางน้ำทางทะเล (SEA RESCUE)
โดยมี นาวาเอก พรพิชิต สุวรรณศิริ ผอ.โรงเรียนนาวิกเวชกิจ กรมแพทย์ทหารเรือ เรือเอก ดร.ฐาพล สมสกุล ประธานชมรมกู้ภัยทางน้ำทางทะเล ผอ.หลักสูตรและอำนวยการฝึก คณะครูฝึก และนักเรียนผู้สำเร็จการฝึก พร้อมแขกผู้มีเกียรติร่วมพิธี ณ หอประชุม โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ กรุงเทพฯ
พลเรือเอก เชษฐา ใจเปี่ยม ให้สัมภาษณ์ว่า “ได้เล็งเห็นถึงความมุ่งมั่นของ เรือเอก ดร.ฐาพลฯ นายทหารเรือคนสนิทในการต้องการใช้ความรู้ ความสามารถของเขาที่มีอยู่มาช่วยเหลือสังคม จึงได้พยายามสร้างหลักสูตรมาแล้วหลายหลักสูตร เช่น หลักสูตรกู้ภัยปฏิบัติการพิเศษ แต่เมื่อไม่ตอบโจทย์ในการเป็นนักกู้ภัย จึงได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการฝึกใหม่ทั้งหมด มาเป็นหลักสูตรนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล ที่มีพิธีในวันนี้”
พันตรี ณัฐพงศ์ หาญโชติช่วง ผู้สำเร็จการฝึกหลักสูตรนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล รุ่นที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า “ภาคภูมิใจมากที่ได้ฝึกและอบรมจนสำเร็จหลักสูตรนี้ ตอนเห็นภาพของรุ่นเตรียมความครูฝึกดูเหมือนง่าย แต่พอเข้าฝึกและอบรมด้วยตนเองแล้ว จึงรู้ว่ามันไม่ง่าย และที่สำคัญคือ เนื้อหาหลักสูตรฝึกแล้ว เรียนแล้วเอาไปใช้งานได้จริง หากชมรมฯ มีกิจกรรมอะไร พร้อมจะเข้าร่วมด้วยเสมอ”
ในขณะที่ เรือเอก ดร.ฐาพลฯ เปิดเผยถึงเจตนารมณ์เริ่มแรกว่า “จากอุบัติภัยทางน้ำที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เช่น คนจมน้ำ คนตกน้ำ หรือแม้กระทั่งเรือล่ม หรืออับปาง ประกอบกับภัยพิบัติทางน้ำทางทะเลที่มีความรุนแรงและมีความถี่ที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ วิกฤติสภาพภูมิอากาศของโลกนี้ มีผลให้เกิดพายุ หรือน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งและมีความถี่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะเราไม่สามารถประเมินค่าชีวิตของมนุษย์ที่ได้ จากปัญหาดังกล่าว ตนจึงพยายามสร้างหลักสูตรที่เกี่ยวกับการกู้ภัยทางน้ำทางทะเลขึ้น
เพื่อผลิตนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเลให้มีทักษะ ความชำนาญ สามารถตอบโต้ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางทะเลได้อย่างทันท่วงทีและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงเกิดความร่วมมือกับเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ในการพัฒนาหลักสูตรขึ้นเป็น “นักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล” เพื่อให้ขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาทักษะการกู้ภัยทางน้ำทางทะเลให้กับอาสาสมัครผู้มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม ซึ่งการฝึกที่ผ่านมา มีทั้งข้าราชการพลเรือน ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ ตำรวจ และอาสาสมัครมูลนิธิการกุศลหลายแห่ง ได้อุทิศตนเข้าร่วมการฝึกที่หนักหน่วงระหว่างวันที่ 16 - 19 พ.ย.65 ในพื้นที่การฝึกทั้งภาคบก และภาคทะเล ณ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จนบรรลุเป้าหมายสำเร็จการฝึกรุ่นที่ 1 ได้อย่างเป็นทางการ”
"ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมจัดการฝึกในรุ่นที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเลที่ต่อเนื่อง โดยเบื้องต้นวางแผนการฝึกไว้ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี โดยนำร่องโมเดลจังหวัดชายทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นกำลังภาคจิตอาสาสนับสนุนหน่วยงานท้องถิ่น เสริมสร้างพื้นที่เศรษฐกิจชายทะเลที่เข้มแข็งเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวทะเลไทย" เรือเอก ดร.ฐาพลฯ กล่าวย้ำเป้าหมายต่อไป
โอกาสเดียวกันนี้ เรือเอก ดร.ฐาพลฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขอแสดงความยินดีกับผู้กระทำคุณประโยชน์ ที่ได้ให้สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ชมรมฯ จนเป็นที่ประจักษ์ คณะกรรมการชมรมฯ จึงได้พิจารณามอบประกาศเกียรติคุณ และเครื่องหมายแสดงความสามารถนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล ให้เป็นกิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงมิตรภาพ ความเชื่อมั่นความศรัทธา และให้เกียรติด้วยความจริงใจ
และขอขอบคุณข้าราชการจิตอาสา และอาสาสมัครทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกสังกัดที่เสียสละเวลาอันมีค่ามาร่วมฝึกทักษะการกู้ภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำทางทะเล เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที และสามารถตอบโต้ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางน้ำทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันสถานการณ์
"ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมจัดการฝึกในรุ่นที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเลที่ต่อเนื่อง โดยเบื้องต้นวางแผนการฝึกไว้ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี โดยนำร่องโมเดลจังหวัดชายทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นกำลังภาคจิตอาสาสนับสนุนหน่วยงานท้องถิ่น เสริมสร้างพื้นที่เศรษฐกิจชายทะเลที่เข้มแข็งเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวทะเลไทย" เรือเอก ดร.ฐาพลฯ กล่าวย้ำเป้าหมายต่อไป
โอกาสเดียวกันนี้ เรือเอก ดร.ฐาพลฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขอแสดงความยินดีกับผู้กระทำคุณประโยชน์ ที่ได้ให้สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ชมรมฯ จนเป็นที่ประจักษ์ คณะกรรมการชมรมฯ จึงได้พิจารณามอบประกาศเกียรติคุณ และเครื่องหมายแสดงความสามารถนักกู้ภัยทางน้ำทางทะเล ให้เป็นกิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงมิตรภาพ ความเชื่อมั่นความศรัทธา และให้เกียรติด้วยความจริงใจ
และขอขอบคุณข้าราชการจิตอาสา และอาสาสมัครทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกสังกัดที่เสียสละเวลาอันมีค่ามาร่วมฝึกทักษะการกู้ภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำทางทะเล เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที และสามารถตอบโต้ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางน้ำทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันสถานการณ์