สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 จับกุมบุหรี่ไฟฟ้า ลักลอบนำเข้า จำนวนมาก มูลค่ารวม 7 ล้านบาท
ตามที่ นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายมุ่งเน้นการป้องกันและปราบปราม การลักลอบนำเข้าสินค้าต้องห้ามต้องจำกัด เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร และนายพร้อมชาย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรในพื้นที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
นายชนินทร์ ศุภรินทร์ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร และนายเรวัตน์ บางพา หัวหน้าฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ได้นำเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 ลงพื้นที่สืบสวนอย่างเข้มงวด และจากการตรวจสอบโดยละเอียดพบการกระทำความผิดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีพฤติกรรมซุกซ่อนและจำหน่ายสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรหน่วยสืบสวนปราบปรามประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝปป.2 สปป.1 กสป. และด่านศุลกากรช่องจอม วางแผนตรวจค้น-จับกุม พื้นที่เป้าหมายในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา รวม 4 แห่ง ผลการตรวจค้นพบบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวนมาก มูลค่ารวม 7 ล้านบาท เจ้าหน้าที่ ฯ ได้ทำการยึดของกลาง พร้อมทั้งควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งหมด ส่งสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
โดยสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้า และน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้านั้นถือเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง “กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557” จุดประสงค์เพื่อป้องกันมิให้นำสินค้าดังกล่าวไปใช้อันก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ สุขอนามัย สังคม ความมั่นคง ของประเทศ และความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าหรือส่งออก ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 การจำหน่ายของซึ่งตนรู้ว่าเป็นความผิดดังกล่าว เป็นความผิดตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามที่ นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายมุ่งเน้นการป้องกันและปราบปราม การลักลอบนำเข้าสินค้าต้องห้ามต้องจำกัด เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร และนายพร้อมชาย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรในพื้นที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
นายชนินทร์ ศุภรินทร์ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร และนายเรวัตน์ บางพา หัวหน้าฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ได้นำเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 ลงพื้นที่สืบสวนอย่างเข้มงวด และจากการตรวจสอบโดยละเอียดพบการกระทำความผิดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีพฤติกรรมซุกซ่อนและจำหน่ายสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรหน่วยสืบสวนปราบปรามประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝปป.2 สปป.1 กสป. และด่านศุลกากรช่องจอม วางแผนตรวจค้น-จับกุม พื้นที่เป้าหมายในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา รวม 4 แห่ง ผลการตรวจค้นพบบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวนมาก มูลค่ารวม 7 ล้านบาท เจ้าหน้าที่ ฯ ได้ทำการยึดของกลาง พร้อมทั้งควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งหมด ส่งสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
โดยสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้า และน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้านั้นถือเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง “กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557” จุดประสงค์เพื่อป้องกันมิให้นำสินค้าดังกล่าวไปใช้อันก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ สุขอนามัย สังคม ความมั่นคง ของประเทศ และความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าหรือส่งออก ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 การจำหน่ายของซึ่งตนรู้ว่าเป็นความผิดดังกล่าว เป็นความผิดตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร หรือทั้งจำทั้งปรับ