# สคบ.ใกล้คลอด กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลัง ฯ
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 9.3 0 น. ณ. ห้องประชุม 1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
สคบ.โดย คณะอนุกรรมการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค ได้จัดประชุม เพื่อพิจารณา
" (ร่าง) กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมพ.ศ.... " ซึ่ง ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา แล้วและ มีมติ "ให้นำ(ร่าง)กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือที่อาจก่อ ให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมพ.ศ.... " ไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ประชาพิจารณ์ )
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 9.3 0 น. ณ. ห้องประชุม 1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
สคบ.โดย คณะอนุกรรมการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค ได้จัดประชุม เพื่อพิจารณา
" (ร่าง) กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมพ.ศ.... " ซึ่ง ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา แล้วและ มีมติ "ให้นำ(ร่าง)กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือที่อาจก่อ ให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมพ.ศ.... " ไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ประชาพิจารณ์ )
โดยมีนายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ ประธานอนุกรรมการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค เป็นประธาน ฯ
บัดนี้ (ร่าง)กฎกระทรวง ฯ ฉบับดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แล้วเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ, ประชาชนโดยทั่วไป , หน่วยงานราชการและกลุ่มที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย จำนวน รวมทั้งสิ้น 244 คน (รวมผู้เข้าร่วมประชุมโดยระบบประชุมทางไกล Vidio Conference แล้ว )
ทั้งนี้โดยผู้เข้าร่วมโครงการรับฟังความคิดเห็น ส่วนใหญ่ เห็นว่า ควรมีร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว และเห็นด้วยกับ(ร่าง)กฎกระทรวงฉบับดังกล่าว
บัดนี้ (ร่าง)กฎกระทรวง ฯ ฉบับดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แล้วเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ, ประชาชนโดยทั่วไป , หน่วยงานราชการและกลุ่มที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย จำนวน รวมทั้งสิ้น 244 คน (รวมผู้เข้าร่วมประชุมโดยระบบประชุมทางไกล Vidio Conference แล้ว )
ทั้งนี้โดยผู้เข้าร่วมโครงการรับฟังความคิดเห็น ส่วนใหญ่ เห็นว่า ควรมีร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว และเห็นด้วยกับ(ร่าง)กฎกระทรวงฉบับดังกล่าว
จากนั้น ได้นำ (ร่าง)กฎกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าว ไปรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( www.ocpb.go.th) มีกำหนดเวลา 30 วัน ผลการรับฟังความคิดเห็นปรากฎว่าผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของ สคบ. ส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อ(ร่าง)กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังฉบับดังกล่าว
วันนี้ ...ที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค ได้นำ(ร่าง)กฎกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าว ซึ่งผ่านการรับฟังความคิดเห็น ทั้งจาก ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ ผ่านทางเว็บไซต์ของ สคบ. แล้ว ข้อเสนอแนะและข้อห่วงใย ตลอดจนคำถามมาพิจารณาทบทวนอีกครั้งที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า
(ร่าง)กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังฉบับดังกล่าว สามารถอธิบาย ตอบข้อสงสัยและข้อห่วงใยของผู้ที่แสดงความคิดเห็น (ประชาพิจารณ์) ได้อย่างครบถ้วน และสามารถประกาศใช้บังคับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ได้รับความเสียหายจากการโฆษณาเครื่องรางของขลังและบริการ ได้ ที่ประชุมจึงมีมติ ดังนี้
ให้ส่ง "(ร่าง)กฎกระทรวงกำหนดข้อความ โฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมพ.ศ...." ไปให้ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา พิจารณา (อีกครั้ง) เพื่อให้ สคบ. ส่งไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา และนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป "
วันนี้ ...ที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค ได้นำ(ร่าง)กฎกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าว ซึ่งผ่านการรับฟังความคิดเห็น ทั้งจาก ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ ผ่านทางเว็บไซต์ของ สคบ. แล้ว ข้อเสนอแนะและข้อห่วงใย ตลอดจนคำถามมาพิจารณาทบทวนอีกครั้งที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า
(ร่าง)กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังฉบับดังกล่าว สามารถอธิบาย ตอบข้อสงสัยและข้อห่วงใยของผู้ที่แสดงความคิดเห็น (ประชาพิจารณ์) ได้อย่างครบถ้วน และสามารถประกาศใช้บังคับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ได้รับความเสียหายจากการโฆษณาเครื่องรางของขลังและบริการ ได้ ที่ประชุมจึงมีมติ ดังนี้
ให้ส่ง "(ร่าง)กฎกระทรวงกำหนดข้อความ โฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมพ.ศ...." ไปให้ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา พิจารณา (อีกครั้ง) เพื่อให้ สคบ. ส่งไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา และนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป "