"จังหวัดสมุทรปราการ" ร่วมสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามอนุรักษ์ประเพณีรับบัว อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย
นายศุภมิตร ชิณศรี ผวจ.สมุทรปราการ ประธานพิธีประเพณีรับบัว ประจำปี 2566 ร่วมสืบสาน"ประเพณีรับบัว" ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และได้รับการประกาศเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2555 โดยกระทรวงวัฒนธรรม
ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีที่แสดงถึงความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนต่างถิ่น ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในอำเภอบางพลี และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความผูกพันธ์กับสายน้ำของชาวอำเภอบางพลีที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 14ค่ำ เดือน11 ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 28ตุลาคม 2566 จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลองลงเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลอง และประชาชนที่มาร่วมพิธีได้ร่วมสักการะบูชาโดยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตที่ประดิษฐานอยู่ มีความเชื่อกันว่าหากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดังหวัง สมัยก่อนหนุ่มสาวจะใช้การโยนดอกบัว เพื่อเสี่ยงทายเลือกคู่ครอง แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปจากอดีต ประกอบกับการคมนาคมทางบกที่สะดวกมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของชาวอำเภอบางพลีเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
และเพื่อมิให้ประเพณีรับบัว มรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอำเภอบางพลีถูกลืมเลือนไป อำเภอบางพลี จึงได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อนุรักษ์ประเพณีที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทยไว้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ประเพณีที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย ไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลาและคงอยู่เป็นมรดกตกทอดให้คนรุ่นหลังสืบไป
สำหรับหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน พระอารามหลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางสะดุ้งมาร) ศิลปะสมัยสุโขทัยลักษณะเบิกเนตร ขัดสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ตามตำนานกล่าวว่า ประมาณ 200 กว่าปี หลวงพ่อโตลอยน้ำมาจากทางเหนือ พร้อมหลวงพ่อพุทธโสธร และหลวงพ่อบ้านแหลม โดยหลวงพ่อโตลอยเข้ามาตามคลองสำโรง ชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ วัดบางพลีใหญ่ใน พระอารามหลวง เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดใกล้เคียง
โดยประชาชนต่างหลั่งไหลมากราบไห้วขอพรและโยนดอกบัวลงไปบนเรือองค์หลวงพ่อโตเพื่อแสดงความเคารพบูชาและเพื่อเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว
นายศุภมิตร ชิณศรี ผวจ.สมุทรปราการ ประธานพิธีประเพณีรับบัว ประจำปี 2566 ร่วมสืบสาน"ประเพณีรับบัว" ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และได้รับการประกาศเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2555 โดยกระทรวงวัฒนธรรม
ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีที่แสดงถึงความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนต่างถิ่น ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในอำเภอบางพลี และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความผูกพันธ์กับสายน้ำของชาวอำเภอบางพลีที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 14ค่ำ เดือน11 ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 28ตุลาคม 2566 จะมีการอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลองลงเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งคลอง และประชาชนที่มาร่วมพิธีได้ร่วมสักการะบูชาโดยการโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตที่ประดิษฐานอยู่ มีความเชื่อกันว่าหากสามารถโยนดอกบัวลงไปในเรือที่องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่แล้ว อธิษฐานสิ่งใดไว้ก็จะประสบความสำเร็จดังหวัง สมัยก่อนหนุ่มสาวจะใช้การโยนดอกบัว เพื่อเสี่ยงทายเลือกคู่ครอง แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปจากอดีต ประกอบกับการคมนาคมทางบกที่สะดวกมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของชาวอำเภอบางพลีเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
และเพื่อมิให้ประเพณีรับบัว มรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอำเภอบางพลีถูกลืมเลือนไป อำเภอบางพลี จึงได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อนุรักษ์ประเพณีที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทยไว้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ประเพณีที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย ไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลาและคงอยู่เป็นมรดกตกทอดให้คนรุ่นหลังสืบไป
สำหรับหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน พระอารามหลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางสะดุ้งมาร) ศิลปะสมัยสุโขทัยลักษณะเบิกเนตร ขัดสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ตามตำนานกล่าวว่า ประมาณ 200 กว่าปี หลวงพ่อโตลอยน้ำมาจากทางเหนือ พร้อมหลวงพ่อพุทธโสธร และหลวงพ่อบ้านแหลม โดยหลวงพ่อโตลอยเข้ามาตามคลองสำโรง ชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ วัดบางพลีใหญ่ใน พระอารามหลวง เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดใกล้เคียง
โดยประชาชนต่างหลั่งไหลมากราบไห้วขอพรและโยนดอกบัวลงไปบนเรือองค์หลวงพ่อโตเพื่อแสดงความเคารพบูชาและเพื่อเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว