บทความทางกฎหมาย โดยอัยการวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ เรื่อง 112 เลขนี้สำคัญไฉน ...
เมื่อเร็วเร็วนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยว่า “ การกระทำของ นาย พ.และพรรค ก. จากการหาเสียงนโยบายแก้ไข มาตรา 112 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสอง เลิกการกระทำ เลิกการแสดงความความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิก มาตรา 112 อีกทั้งไม่ให้มีการแก้ไข มาตรา 112 ด้วยวิธีการที่ไม่ใช่วิธีการทางกระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย
และยังมีคดีที่ นาย ท. ถูกพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ดำเนินคดีในความผิด ตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ เมื่อปีพ.ศ.2558
มาดูกันว่า ความผิดตามมาตรา 112 คืออะไร ?
เมื่อเร็วเร็วนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยว่า “ การกระทำของ นาย พ.และพรรค ก. จากการหาเสียงนโยบายแก้ไข มาตรา 112 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสอง เลิกการกระทำ เลิกการแสดงความความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิก มาตรา 112 อีกทั้งไม่ให้มีการแก้ไข มาตรา 112 ด้วยวิธีการที่ไม่ใช่วิธีการทางกระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย
และยังมีคดีที่ นาย ท. ถูกพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ดำเนินคดีในความผิด ตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ เมื่อปีพ.ศ.2558
มาดูกันว่า ความผิดตามมาตรา 112 คืออะไร ?
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
"ผู้ใด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"
กฎหมายมาตรา 112 นี้แตกต่างจากกฎหมาย “หมิ่นประมาท” ทั่วไป เนื่องจากมาตรา 112 นี้ ได้บัญญัติว่า "การดูหมิ่น" ก็เป็นความผิดด้วย ทั้งนี้โดยมีการแก้ไขในปี 2500 และหลังจากนั้นมีการตีความคำว่า "ดูหมิ่น" ว่าหมายถึง
การแสดงความไม่เคารพ “สถาบันพระมหากษัตริย์” และ “สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน” การตีความอย่างกว้างนี้ก่อให้เกิดข้อพิพาทมาจนถึงปัจจุบัน ผู้พิพากษาและนักวิชาการกฎหมายดูเหมือนยึดถือว่า “ พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการติชมในทางใด ๆ” ตั้งแต่ปี 2519 มีการตีความรวมถึงการวิจารณ์พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ โครงการหลวง สถาบันพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี และอดีตพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มโทษจากสูงสุด 7 ปี มาเป็นโทษ 3 ถึง 15 ปีอย่างในปัจจุบัน
ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรไทยก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7(1) ตัวอย่างเช่น กรณีคนไทยที่กระทำผิดในสหรัฐจะถูกดำเนินคดีในประเทศไทย
คราวนี้มาดู สถิติการดำเนินคดีตามมาตรา 112 (ข้อมูล จนถึงวันที่ 14 ก.พ. 2567)
คดีที่จำเลยปฏิเสธและต่อสู้คดี และศาลมีคำพิพากษา จำนวน 68 คดี แยกเป็น
คดีที่ศาลยกฟ้อง จำนวน 20 คดี
คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา จำนวน 30 คดี
คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา จำนวน 9 คดี
คดีที่ศาลยกฟ้องข้อหามาตรา 112 แต่ลงโทษในข้อหาอื่นๆ จำนวน 6 คดี
และคดีที่ศาลยกฟ้องจำเลยบางคน แต่ลงโทษจำคุกจำเลยอีกราย จำนวน 3 คดี
คดีที่จำเลยรับสารภาพ และ ศาลมีคำพิพากษา จำนวนอย่างน้อย 57 คดี แยกเป็น
คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา จำนวน 23 คดี
คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา จำนวน 31 คดี
และคดีที่ศาลให้รอกำหนดโทษ จำนวน 3 คดี
มาดูเหตุผลที่ศาลลงโทษ :
(1.)จำเลยมีความผิดตามมาตรา 112 เนื่องจากแม้จะกระทำต่อกษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว ก็กระทบถึงองค์ปัจจุบัน
(2.)ข้อความเป็นสิ่งที่ไม่บังควร มีลักษณะเป็นการจาบจ้วง และชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจําเลยที่ต้องการจะดูถูก ด้อยค่าพระมหากษัตริย์ อันเข้าลักษณะเป็นการดูหมิ่นแล้ว
(3.)ข้อความที่โพสต์เป็นความเท็จ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ มีเจตนาลดเกียรติและ ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
(4.) จำเลยมีการแสดงตนเป็นราชินี ในเชิงล้อเลียนเสียดสี ก่อให้เกิดความตลกขบขัน เป็นการไม่แสดงความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นกระทำที่ไม่บังควร
(5.) ศาลเห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 112 แม้คำปราศรัยจะไม่ได้มีการกล่าวถึงพระนามของกษัตริย์พระองค์ใด แต่เห็นว่ามาตรา 112 ไม่ได้คุ้มครองแค่กษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แต่คุ้มครองทั้งสถาบันกษัตริย์
(6.) ศาลเห็นว่า จำเลยโพสต์คลิปวิดีโอมีเนื้อหาสื่อถึงรัชกาลที่ 10 ที่วางตัวไม่เป็นกลางทางการเมือง ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย เห็นว่าเป็นการดูหมิ่น จาบจ้วง ตามมาตรา 112
(7).ศาลเห็นว่า ถ้อยคำปราศรัยของจำเลยเป็นการกล่าวหาที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง และเกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์ เห็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ม.112
(8) .ศาลเห็นว่า จำเลยบีบของเหลวสีม่วงใส่ผ้าประดับซุ้มฯ ไฟก็ลุกพรึบขึ้นมา น่าเชื่อว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือวัตถุไวไฟบางชนิด ที่จำเลยเบิกความว่าต้องการช่วยดับไฟนั้น เป็นการเบิกความลอยๆ พยานโจทก์ยังเบิกความว่า พระบรมฉายาลักษณ์มีค่าเท่าตัวบุคคล มีไว้กราบไหว้และเป็นที่เคารพสักการะ การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง
(9) .ศาลพิพากษาว่า มีความผิดตามฟ้อง เห็นว่า แม้ไม่ได้พ่นข้อความบนพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 แต่การพ่นบนรูปภาพของสมาชิกราชวงศ์ ย่อมส่งผลกระทบต่อรัชกาลที่ 10 เป็นการกระทำที่ด้อยค่าและทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย ลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ฐานทำให้เสียทรัพย์ จำคุกกระทงละ 2 เดือน ปรับกระทงละ 6,000 บาท รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 10 เดือน ปรับ 30,000 บาท
(10) คำพิพากษาศาลฏีกา 2354/2531
จำเลยจะมีเจตนาหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นหรือไม่ จะถือตามความเข้าใจของจำเลยซึ่งเป็นผู้กล่าวเองมิได้ ต้องพิจารณาจากข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมด การที่จำเลยกล่าวข้อความไปอย่างไร แล้วกลับมาแก้ว่าไม่มีเจตนาตามที่กล่าว ย่อมยากที่จะรับฟัง การที่จำเลยเป็นผู้มีคุณความดีมาก่อน หลังจากเกิดเหตุแล้วยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลของพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลย
คราวนี้มาดูเหตุผลที่ศาล ยกฟ้อง :
(1.) ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่า ข้อความของจำเลยไม่ได้ระบุให้รู้ได้โดยแน่นอนว่าเป็นองค์พระมหากษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ ขึ้นกับการตีความของบุคคล และสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ใช่องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีไม่พอที่จะลงโทษจำเลยในทุกข้อหาได้
(2.) ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าพยานโจทก์ยังไม่พอให้เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าโพสต์ดังกล่าว มีเพียงผู้กล่าวหาคนเดียวที่เบิกความว่าจำเลยโพสต์ แต่กลับเบิกความถึงการเห็นโพสต์แตกต่างกัน อีกทั้งภาพที่นำมาแจ้งความก็ไม่ปรากฏ URL ประกอบการคำเบิกความของพยานจำเลยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งสองเห็นว่า ภาพมีการตัดต่อมา
(3.) ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าหลักฐานที่ผู้กล่าวหานำมา แจ้งความ เป็นการแคปภาพหน้าจอ ไม่ใช่สิ่งพิมพ์จากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง พยานหลักฐานของโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์มีจุดเริ่มต้น และปลายทางส่งข้อมูลเป็นอย่างไร หมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์คืออะไร ซึ่งเป็นข้อมูลระบุตัวตนสำคัญ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย
(4.) ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่า โจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้งานหรือเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กตามฟ้อง ขณะที่จำเลยถูกจับกุม ตำรวจได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของจำเลยมาตรวจสอบด้วย แต่ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการเข้าใช้งานบัญชี เฟซบุ๊กที่ถูกกล่าวหา อีกทั้ง จำเลยได้ให้การปฏิเสธตลอดมา ประกอบกับจำเลยมีอาการทางจิต จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
(5.) ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่า ข้อความในป้ายไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 112 ไม่ได้ระบุว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
นอกจากนี้ยังมี คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29 /2555
ได้วางหลักเกี่ยวกับบทบัญญัติมาตรา 112 ไว้ว่า การกระทำความผิดฐานดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ มีลักษณะของการกระทำความผิดที่มีความ ร้ายแรงมากกว่าการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทต่อบุคคลธรรมดา จึงไม่มีบทบัญญัติ เหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษไว้
สำหรับ คดีความผิดตามมาตรา 112 นั้น สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดให้เป็น “ คดีสำคัญ” และได้กำหนด แนวปฎิบัติในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยให้สำนักงานอัยการที่ได้รับสำนวนคดีความผิดตามมาตรา 112 ให้ส่งสำนวนคดีไปให้ สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาทันที และให้รายงานคดีสำคัญ ตามแบบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว การดำเนินคดีในชั้นศาลสูง ( ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา) ก็ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือ ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้อง หรือลงโทษไม่เต็มตามฟ้อง ให้จัดส่งสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ สำเนาคำเบิกความพยานและเอกสารที่โจทก์จำเลยอ้างส่งศาล ไปให้ สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาทันที
กล่าวโดยสรุป คดีความผิด ตามมาตรา 112 “ผู้ใด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ” แม้ในทางคดี จะตีความหมายอย่างกว้าง และอาจมีผู้ถูกดำเนินคดีตามความผิดมาตรา 112 โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนจำนวนมากก็ตาม แต่ในทางคดีหาใช่ว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 112 ในทุกคดี ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีบางคดีที่ศาลพิพากษา “ยกฟ้อง” เช่นกันดังที่ได้กล่าวแล้ว
112 “ พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการติชมในทางใด ๆ”
• นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
(อดีต)รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
"ผู้ใด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"
กฎหมายมาตรา 112 นี้แตกต่างจากกฎหมาย “หมิ่นประมาท” ทั่วไป เนื่องจากมาตรา 112 นี้ ได้บัญญัติว่า "การดูหมิ่น" ก็เป็นความผิดด้วย ทั้งนี้โดยมีการแก้ไขในปี 2500 และหลังจากนั้นมีการตีความคำว่า "ดูหมิ่น" ว่าหมายถึง
การแสดงความไม่เคารพ “สถาบันพระมหากษัตริย์” และ “สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน” การตีความอย่างกว้างนี้ก่อให้เกิดข้อพิพาทมาจนถึงปัจจุบัน ผู้พิพากษาและนักวิชาการกฎหมายดูเหมือนยึดถือว่า “ พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการติชมในทางใด ๆ” ตั้งแต่ปี 2519 มีการตีความรวมถึงการวิจารณ์พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ โครงการหลวง สถาบันพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี และอดีตพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มโทษจากสูงสุด 7 ปี มาเป็นโทษ 3 ถึง 15 ปีอย่างในปัจจุบัน
ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรไทยก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7(1) ตัวอย่างเช่น กรณีคนไทยที่กระทำผิดในสหรัฐจะถูกดำเนินคดีในประเทศไทย
คราวนี้มาดู สถิติการดำเนินคดีตามมาตรา 112 (ข้อมูล จนถึงวันที่ 14 ก.พ. 2567)
คดีที่จำเลยปฏิเสธและต่อสู้คดี และศาลมีคำพิพากษา จำนวน 68 คดี แยกเป็น
คดีที่ศาลยกฟ้อง จำนวน 20 คดี
คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา จำนวน 30 คดี
คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา จำนวน 9 คดี
คดีที่ศาลยกฟ้องข้อหามาตรา 112 แต่ลงโทษในข้อหาอื่นๆ จำนวน 6 คดี
และคดีที่ศาลยกฟ้องจำเลยบางคน แต่ลงโทษจำคุกจำเลยอีกราย จำนวน 3 คดี
คดีที่จำเลยรับสารภาพ และ ศาลมีคำพิพากษา จำนวนอย่างน้อย 57 คดี แยกเป็น
คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา จำนวน 23 คดี
คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา จำนวน 31 คดี
และคดีที่ศาลให้รอกำหนดโทษ จำนวน 3 คดี
มาดูเหตุผลที่ศาลลงโทษ :
(1.)จำเลยมีความผิดตามมาตรา 112 เนื่องจากแม้จะกระทำต่อกษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว ก็กระทบถึงองค์ปัจจุบัน
(2.)ข้อความเป็นสิ่งที่ไม่บังควร มีลักษณะเป็นการจาบจ้วง และชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจําเลยที่ต้องการจะดูถูก ด้อยค่าพระมหากษัตริย์ อันเข้าลักษณะเป็นการดูหมิ่นแล้ว
(3.)ข้อความที่โพสต์เป็นความเท็จ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ มีเจตนาลดเกียรติและ ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
(4.) จำเลยมีการแสดงตนเป็นราชินี ในเชิงล้อเลียนเสียดสี ก่อให้เกิดความตลกขบขัน เป็นการไม่แสดงความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ อันเป็นกระทำที่ไม่บังควร
(5.) ศาลเห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 112 แม้คำปราศรัยจะไม่ได้มีการกล่าวถึงพระนามของกษัตริย์พระองค์ใด แต่เห็นว่ามาตรา 112 ไม่ได้คุ้มครองแค่กษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แต่คุ้มครองทั้งสถาบันกษัตริย์
(6.) ศาลเห็นว่า จำเลยโพสต์คลิปวิดีโอมีเนื้อหาสื่อถึงรัชกาลที่ 10 ที่วางตัวไม่เป็นกลางทางการเมือง ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย เห็นว่าเป็นการดูหมิ่น จาบจ้วง ตามมาตรา 112
(7).ศาลเห็นว่า ถ้อยคำปราศรัยของจำเลยเป็นการกล่าวหาที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง และเกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์ เห็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ม.112
(8) .ศาลเห็นว่า จำเลยบีบของเหลวสีม่วงใส่ผ้าประดับซุ้มฯ ไฟก็ลุกพรึบขึ้นมา น่าเชื่อว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือวัตถุไวไฟบางชนิด ที่จำเลยเบิกความว่าต้องการช่วยดับไฟนั้น เป็นการเบิกความลอยๆ พยานโจทก์ยังเบิกความว่า พระบรมฉายาลักษณ์มีค่าเท่าตัวบุคคล มีไว้กราบไหว้และเป็นที่เคารพสักการะ การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง
(9) .ศาลพิพากษาว่า มีความผิดตามฟ้อง เห็นว่า แม้ไม่ได้พ่นข้อความบนพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 แต่การพ่นบนรูปภาพของสมาชิกราชวงศ์ ย่อมส่งผลกระทบต่อรัชกาลที่ 10 เป็นการกระทำที่ด้อยค่าและทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย ลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ฐานทำให้เสียทรัพย์ จำคุกกระทงละ 2 เดือน ปรับกระทงละ 6,000 บาท รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 10 เดือน ปรับ 30,000 บาท
(10) คำพิพากษาศาลฏีกา 2354/2531
จำเลยจะมีเจตนาหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นหรือไม่ จะถือตามความเข้าใจของจำเลยซึ่งเป็นผู้กล่าวเองมิได้ ต้องพิจารณาจากข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมด การที่จำเลยกล่าวข้อความไปอย่างไร แล้วกลับมาแก้ว่าไม่มีเจตนาตามที่กล่าว ย่อมยากที่จะรับฟัง การที่จำเลยเป็นผู้มีคุณความดีมาก่อน หลังจากเกิดเหตุแล้วยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลของพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลย
คราวนี้มาดูเหตุผลที่ศาล ยกฟ้อง :
(1.) ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่า ข้อความของจำเลยไม่ได้ระบุให้รู้ได้โดยแน่นอนว่าเป็นองค์พระมหากษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ ขึ้นกับการตีความของบุคคล และสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ใช่องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีไม่พอที่จะลงโทษจำเลยในทุกข้อหาได้
(2.) ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าพยานโจทก์ยังไม่พอให้เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าโพสต์ดังกล่าว มีเพียงผู้กล่าวหาคนเดียวที่เบิกความว่าจำเลยโพสต์ แต่กลับเบิกความถึงการเห็นโพสต์แตกต่างกัน อีกทั้งภาพที่นำมาแจ้งความก็ไม่ปรากฏ URL ประกอบการคำเบิกความของพยานจำเลยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งสองเห็นว่า ภาพมีการตัดต่อมา
(3.) ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่าหลักฐานที่ผู้กล่าวหานำมา แจ้งความ เป็นการแคปภาพหน้าจอ ไม่ใช่สิ่งพิมพ์จากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง พยานหลักฐานของโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์มีจุดเริ่มต้น และปลายทางส่งข้อมูลเป็นอย่างไร หมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์คืออะไร ซึ่งเป็นข้อมูลระบุตัวตนสำคัญ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย
(4.) ศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา เห็นว่า โจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้งานหรือเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กตามฟ้อง ขณะที่จำเลยถูกจับกุม ตำรวจได้ตรวจยึดโทรศัพท์มือถือของจำเลยมาตรวจสอบด้วย แต่ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการเข้าใช้งานบัญชี เฟซบุ๊กที่ถูกกล่าวหา อีกทั้ง จำเลยได้ให้การปฏิเสธตลอดมา ประกอบกับจำเลยมีอาการทางจิต จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
(5.) ศาลพิพากษายกฟ้อง เห็นว่า ข้อความในป้ายไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 112 ไม่ได้ระบุว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
นอกจากนี้ยังมี คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29 /2555
ได้วางหลักเกี่ยวกับบทบัญญัติมาตรา 112 ไว้ว่า การกระทำความผิดฐานดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ มีลักษณะของการกระทำความผิดที่มีความ ร้ายแรงมากกว่าการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทต่อบุคคลธรรมดา จึงไม่มีบทบัญญัติ เหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษไว้
สำหรับ คดีความผิดตามมาตรา 112 นั้น สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดให้เป็น “ คดีสำคัญ” และได้กำหนด แนวปฎิบัติในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยให้สำนักงานอัยการที่ได้รับสำนวนคดีความผิดตามมาตรา 112 ให้ส่งสำนวนคดีไปให้ สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาทันที และให้รายงานคดีสำคัญ ตามแบบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว การดำเนินคดีในชั้นศาลสูง ( ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา) ก็ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือ ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้อง หรือลงโทษไม่เต็มตามฟ้อง ให้จัดส่งสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ สำเนาคำเบิกความพยานและเอกสารที่โจทก์จำเลยอ้างส่งศาล ไปให้ สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาทันที
กล่าวโดยสรุป คดีความผิด ตามมาตรา 112 “ผู้ใด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ” แม้ในทางคดี จะตีความหมายอย่างกว้าง และอาจมีผู้ถูกดำเนินคดีตามความผิดมาตรา 112 โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนจำนวนมากก็ตาม แต่ในทางคดีหาใช่ว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 112 ในทุกคดี ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีบางคดีที่ศาลพิพากษา “ยกฟ้อง” เช่นกันดังที่ได้กล่าวแล้ว
112 “ พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการติชมในทางใด ๆ”
• นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
(อดีต)รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร