บทความทางกฎหมายโดยอัยการวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ เรื่อง ดุลภาคระหว่าง “การครอบครองปรปักษ์” กับความผิดฐาน “ บุกรุก”
จากข่าว “ เพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ฝั่งตรงข้ามบ้านของ อากู๋ เข้ามาตัดต้นไม้แล้วใช้บ้านอากู๋ เป็นสถานที่จอดรถ ที่เก็บของ ที่ทำครัว ที่นั่งทานอาหาร และต่อเติมบ้านอากู๋ ให้เชื่อมกับออฟฟิศส่วนตัวบริเวณข้างกันต่อมาวันที่ 31 ส.ค. 2566 อากู๋ ,หลานชายและหลานสะใภ้ ออกมาแสดงตนว่าเป็นเจ้าของบ้านตัวจริง พร้อมเจรจากัน โดยฝั่งเพื่อนบ้านอ้างว่า ตนลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนสถานที่ให้ดีขึ้น และอ้างว่า “ พยายามติดต่อขอซื้อ-เช่า แต่ติดต่อไม่ได้” แต่สุดท้ายเพื่อนบ้านก็ยอมถอยออกไป
ต่อมา วันที่ 17 ก.ย. 2566 เมื่อเพื่อนบ้านยอมถอยออกไปแล้ว หลานเจ้าของบ้านจะเข้าไปเปลี่ยนกุญแจบ้านและล็อกบ้าน แต่กลับพบว่าเพื่อนบ้านได้ย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังดังกล่าวอีกครั้ง ทำให้ต้องมีการเจรจาอีกครั้ง ในวันที่ 29 ก.ย. 2566 โดยในการเจรจาดังกล่าว ฝั่งเพื่อนบ้านยอมย้ายออกอีกรอบ และพยายามขอซื้อบ้านต่อจากเธอในราคา 1 ล้านบาท แต่หลานเจ้าของบ้านยังคงยืนยันว่าไม่ขายบ้าน
ต่อมา วันที่ 22 พ.ย. 2566 เพื่อนบ้านยื่น “ฟ้องเป็นคดีแพ่ง” พร้อมอ้างว่าเป็นการ "ครอบครองปรปักษ์" ครอบครองมาเกินกว่าสิบปีแล้ว
วันที่ 6 ม.ค. 2567 หลานเจ้าของบ้านได้รับ “ หมายศาล” หลังกลุ่มเพื่อนบ้านยื่นฟ้องในคดีแพ่ง พร้อมอ้างว่าเป็นการ "ครอบครองปรปักษ์" จากนั้นในวันที่ 29 ม.ค. 2567 ฝั่งอากู๋ ได้ยื่นฟ้องเพื่อนบ้านกลับ เป็นการยื่น “ฟ้องแย้งและฟ้องขับไล่”
วันที่ 8 ก.พ. 2567 หลานเจ้าของบ้าน ได้เข้าไปดูบ้านอีกครั้ง พบว่า “มีการนำป้ายไวนิลขายไก่ทอดน้ำปลามาติดไว้ที่หน้าบ้าน และเมื่อดูในบ้าน พบวัตถุดิบสำหรับทำอาหารวางอยู่ และมีโต๊ะวางไว้คล้ายร้านอาหารตามสั่ง นอกจากนี้ ยังติดป้ายแสดงความเป็นเจ้าของ ด้วยข้อความว่า
"บ้านหลังนี้ข้าพเจ้าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย บุคคลใดเข้ามากระทำการใด ๆ ในบ้านและที่ดินและบ้านหลังนี้ ถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน" พร้อมลงชื่อ-นามสกุล ตนเองต่อท้าย
ต่อมา วันที่ 16 ก.พ. 2567 พนักงานสอบสวน สน.โครกคราม นำตัว นางสาว.ศ กับพวกรวม 5 คน มาส่งสำนวนให้ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญามีนบุรี 1 โดยมีความเห็น สั่งฟ้องข้อหา “บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และ ลักทรัพย์”
และเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2567 หนึ่งในเพื่อนบ้านที่เข้ายึดบ้านอากู๋ เกิดความเครียด ก่อนตัดสินใจผูกคอลาโลก โดยผู้เสียชีวิตคือ นางสาว ภ.หนึ่งในกลุ่มผู้ต้องหา “บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และลักทรัพย์”
ข่าวนี้ทำให้เกิดกระแสกลัวการถูก “ ครอบครองปรปักษ์” จนกระทั่งต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
มาดูหลักกฎหมายในเรื่อง “ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน” และ “การครอบครองปรปักษ์”
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน :
1. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ เช่น ได้มาโดยได้โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง, หรือ ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว, ได้มาซึ่งที่บ้านที่สวน ตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 ที่ดินประเภทนี้เป็นที่ มีกรรมสิทธิ์แต่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ และ ไม่ถือว่า เป็นที่ดินมือเปล่า
2. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้มาโดยขอ “ออกโฉนดที่ดิน”ตั้งตำบลและได้มาโดยขอ “ออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย” (ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 และ 59)
3. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน “โดยนิติกรรม” เช่น โดยการซื้อ การขาย/ แลกเปลี่ยน/ให้ /จำนอง, ขายฝาก ต้อง “ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
4. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยผลของกฎหมาย เช่น
4.1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากที่งอกริมตลิ่ง ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่งที่งอกนั้นเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น โดยหลักของที่งอกริมตลิ่งจะต้องเกิดขึ้นโดย ธรรมชาติและติดต่อเป็นผืนเดียวกันแต่เจ้าของที่ดินมีจะมีกรรมสิทธิ์ในที่งอกได้ต้องเป็นที่ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินแปลงใดเป็นที่มือเปล่าเกิดที่งอกออกมาเจ้าของที่แปลงนั้นก็มีแต่สิทธิครอบครองที่งอก เท่านั้น
ดังนั้นหากเป็นงอกออกมาจากที่ดินมีโฉนดเจ้าของที่ดิน แปลงดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่งอกผู้อื่นจะแย่งการครอบครองที่ดินส่วนนี้ต้องครองครองปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ์ หากเป็นที่งอกออกมาจากที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1., นส.3) เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองหากผู้อื่นแย่งการครอบครองและเจ้าของไม่ฟ้องร้องเรียกคืนภายใน1 ปี เจ้าของสิ้นสิทธิในที่งอกนั้น
4.2 ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
“บุคคลใด ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น ไว้โดยความสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ถ้าเป็น อสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา10 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”
ที่ดินที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้ จะต้องเป็นที่ดินของผู้อื่น และเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เท่านั้น (โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, โฉนดตราจอง, ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ (บทที่42)
ที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1/,น.ส.3) จะถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เช่น ก.ครอบครองที่ดินมือเปล่า (ส.ค ๑ หรือ น.ส.๓ ) อย่างเจ้าของมา 10 ปี ก.ก็คงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น (ไม่ได้กรรมสิทธิ์)
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ จะต้องให้ศาลสั่งว่า ได้มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้วนำคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินประเภทได้มาโดยการครอบครอง หากเจ้าของได้โดยการครอบครองบางส่วนก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วนหรือได้รับแบ่งมาโดยการครอบครอง
4.3 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยทางมรดก การจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกที่ดินมรดกนั้น ต้องเป็นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่น โฉนดที่ดิน
แต่ถ้า ที่ดินมรดก นั้นเป็น “ที่มือเปล่า” เช่นที่ น.ส.3, ส.ค.1 ก็มีเพียง “สิทธิครอบครอง” เท่านั้น
การได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้จะต้อง จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เสียก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เช่น
นาย เอ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดให้นาย บี. เมื่อนาย เอ. ตาย นาย บี. ก็ได้รับมรดกทันทีโดยผลของกฎหมายโดยไม่ต้องจดทะเบียน เนื่องจาก “พินัยกรรม” มีผลเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
แต่ หากไม่มีพินัยกรรม เมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายมรดกก็ตกไปยังทายาทโดยธรรมทันที
แต่ต่อมาหากนาย บี.ต้องการขายที่ดินมรดกให้นาย ซี. นาย บี.จะทำไม่ได้เพราะชื่อในโฉนดยังเป็นชื่อนายเอ. เจ้าของเดิมอยู่ นาย บี.จะต้องจดทะเบียนการได้มาประเภท “มรดก” ลงชื่อนาย บี. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เสียก่อน จึงจะเอาที่ดินไปจดทะเบียนขายให้นาย ซี. ต่อไปได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 บัญญัติว่า
“ถ้าผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น นอกจากนิติกรรม สิทธิ์ของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้ จดทะเบียน ไซร้ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้”
การได้มาทางมรดก ก็เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมเช่นกัน
1. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ เช่น ได้มาโดยได้โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง, หรือ ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว, ได้มาซึ่งที่บ้านที่สวน ตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 ที่ดินประเภทนี้เป็นที่ มีกรรมสิทธิ์แต่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ และ ไม่ถือว่า เป็นที่ดินมือเปล่า
2. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้มาโดยขอ “ออกโฉนดที่ดิน”ตั้งตำบลและได้มาโดยขอ “ออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย” (ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 และ 59)
3. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน “โดยนิติกรรม” เช่น โดยการซื้อ การขาย/ แลกเปลี่ยน/ให้ /จำนอง, ขายฝาก ต้อง “ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
4. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยผลของกฎหมาย เช่น
4.1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากที่งอกริมตลิ่ง ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่งที่งอกนั้นเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น โดยหลักของที่งอกริมตลิ่งจะต้องเกิดขึ้นโดย ธรรมชาติและติดต่อเป็นผืนเดียวกันแต่เจ้าของที่ดินมีจะมีกรรมสิทธิ์ในที่งอกได้ต้องเป็นที่ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินแปลงใดเป็นที่มือเปล่าเกิดที่งอกออกมาเจ้าของที่แปลงนั้นก็มีแต่สิทธิครอบครองที่งอก เท่านั้น
ดังนั้นหากเป็นงอกออกมาจากที่ดินมีโฉนดเจ้าของที่ดิน แปลงดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่งอกผู้อื่นจะแย่งการครอบครองที่ดินส่วนนี้ต้องครองครองปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ์ หากเป็นที่งอกออกมาจากที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1., นส.3) เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองหากผู้อื่นแย่งการครอบครองและเจ้าของไม่ฟ้องร้องเรียกคืนภายใน1 ปี เจ้าของสิ้นสิทธิในที่งอกนั้น
4.2 ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
“บุคคลใด ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น ไว้โดยความสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ถ้าเป็น อสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา10 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”
ที่ดินที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้ จะต้องเป็นที่ดินของผู้อื่น และเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เท่านั้น (โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, โฉนดตราจอง, ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ (บทที่42)
ที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1/,น.ส.3) จะถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เช่น ก.ครอบครองที่ดินมือเปล่า (ส.ค ๑ หรือ น.ส.๓ ) อย่างเจ้าของมา 10 ปี ก.ก็คงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น (ไม่ได้กรรมสิทธิ์)
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ จะต้องให้ศาลสั่งว่า ได้มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้วนำคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินประเภทได้มาโดยการครอบครอง หากเจ้าของได้โดยการครอบครองบางส่วนก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วนหรือได้รับแบ่งมาโดยการครอบครอง
4.3 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยทางมรดก การจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกที่ดินมรดกนั้น ต้องเป็นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่น โฉนดที่ดิน
แต่ถ้า ที่ดินมรดก นั้นเป็น “ที่มือเปล่า” เช่นที่ น.ส.3, ส.ค.1 ก็มีเพียง “สิทธิครอบครอง” เท่านั้น
การได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้จะต้อง จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เสียก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เช่น
นาย เอ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดให้นาย บี. เมื่อนาย เอ. ตาย นาย บี. ก็ได้รับมรดกทันทีโดยผลของกฎหมายโดยไม่ต้องจดทะเบียน เนื่องจาก “พินัยกรรม” มีผลเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
แต่ หากไม่มีพินัยกรรม เมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายมรดกก็ตกไปยังทายาทโดยธรรมทันที
แต่ต่อมาหากนาย บี.ต้องการขายที่ดินมรดกให้นาย ซี. นาย บี.จะทำไม่ได้เพราะชื่อในโฉนดยังเป็นชื่อนายเอ. เจ้าของเดิมอยู่ นาย บี.จะต้องจดทะเบียนการได้มาประเภท “มรดก” ลงชื่อนาย บี. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เสียก่อน จึงจะเอาที่ดินไปจดทะเบียนขายให้นาย ซี. ต่อไปได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 บัญญัติว่า
“ถ้าผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น นอกจากนิติกรรม สิทธิ์ของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้ จดทะเบียน ไซร้ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้”
การได้มาทางมรดก ก็เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมเช่นกัน
ฉะนั้น “การครอบครองปรปักษ์”ก็เป็นเหตุในการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินเช่นกัน
คราวนี้มาดู หลักกฎหมายเรื่อง “การครอบครองปรปักษ์”
การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้ง “อสังหาริมทรัพย์” และ “สังหาริมทรัพย์” สำหรับการครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ดังนี้
1. ครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นของผู้อื่น
2. โดยสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
3. ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี (5 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์)
*ต้องครบทั้งสามข้อ*
ถ้าการครอบครองที่ดินโดยที่ “เจ้าของที่ดินอนุญาต” ให้อยู่อาศัย ผู้ครอบครองไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2539)
การครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นการ “ครอบครองโดยสงบ” เช่น ไม่ได้ถูกฟ้องคดี หรือไม่มีผู้ใดมาโต้แย้ง และต้องเปิดเผย คือ ไม่ได้หลบ ๆ ซ่อน ๆ แต่แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปโดยเปิดเผย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679 – 682/2559
การครอบครองนั้นมีลักษณะเป็นการ “ครอบครองเพื่อตน” มิใช่ ครอบครองแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นผู้อาศัยหรือผู้เช่า แม้จะครอบครอบนานเท่าใด ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
แม้ผู้ครอบครองจะเข้าใจว่าที่ดินที่ตนครอบครองเป็นของตน แต่ความจริงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่ ก็หาทำให้สิทธิจากการครอบครองเสียไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6151/2558
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์รวมทั้งทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยครอบครองที่ดินพิพาท โดยสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยสำคัญผิดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินของจำเลยเอง หากแต่ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบุคคลอื่นที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ****หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยจำเลยต้องรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ด้วยไม่******
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๕๖/ ๒๕๕๒
การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ “ยึดถือเพื่อตนเอง” อย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครอง ด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการ “ยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ” ได้หรือไม่
การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่า จำเลยครอบครองโดย มีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยว หรือ ดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่น เป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย จึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์
คราวนี้มาดูเรื่อง ความผิดฐาน “บุกรุก”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 : ( เข้าไปเพื่อถือครอง / เข้าไปเพื่อรบกวนการครอบครอง / ยอมความได้ )
“ผู้ใด เข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๓๖๔ : ( บุกรุกเคหสถาน/ ยอมความได้ )
ผู้ใด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เข้าไป หรือ ซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้าม มิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๖๕ : ( บุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์ โทษหนักขึ้น และยอมความไม่ได้ )
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๖๒ มาตรา ๓๖๓ หรือมาตรา ๓๖๔ ได้กระทำ
(๑) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
(๒) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือ
(๓) ในเวลากลางคืน
ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นได้ว่า การเข้าไปบุกรุกที่ดิน, ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น หรือ อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาต หรือ ยินยอม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อถือครอง เพื่อรบกวนการครอบครองที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เคหสถาน หรืออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข ย่อมเริ่มต้นจากการกระทำผิดต่อกฎหมายอาญาฐาน “บุกรุก” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๒ – ๓๖๕ ซึ่งมีโทษจำคุกและปรับ หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ,ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ,เคหสถาน หรือ อสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้โต้แย้ง คัดค้าน หรือดำเนินคดี ผู้บุกรุก ผู้ครอบครอง ผู้รบกวนการครอบครอง และหากผู้บุกรุกนั้น ได้ครอบครองที่ดิน ,ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, เคหสถาน, อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยสงบ โดยเปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ผู้นั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เคหสถาน, อสังหาริมทรัพย์นั้น โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ ดังที่ได้กล่าวแล้ว
ส่วนจะเป็นธรรมสำหรับผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ ที่อยู่อยู่ก็มีผู้มาครอบครองปรปักษ์แล้วได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน , ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของเราไป
หรือ จะคุ้มหรือไม่ หากยอมเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีในความผิดฐาน “ บุกรุก” ซึ่งมีโทษจำคุกหรือ ปรับ แล้วได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ,ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่นฟรี ฟรี…
ท่านลองคิดดู.....
*นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
(อดีต) รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (คนที่สอง) ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
คราวนี้มาดู หลักกฎหมายเรื่อง “การครอบครองปรปักษ์”
การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้ง “อสังหาริมทรัพย์” และ “สังหาริมทรัพย์” สำหรับการครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ดังนี้
1. ครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นของผู้อื่น
2. โดยสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
3. ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี (5 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์)
*ต้องครบทั้งสามข้อ*
ถ้าการครอบครองที่ดินโดยที่ “เจ้าของที่ดินอนุญาต” ให้อยู่อาศัย ผู้ครอบครองไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2539)
การครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นการ “ครอบครองโดยสงบ” เช่น ไม่ได้ถูกฟ้องคดี หรือไม่มีผู้ใดมาโต้แย้ง และต้องเปิดเผย คือ ไม่ได้หลบ ๆ ซ่อน ๆ แต่แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปโดยเปิดเผย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679 – 682/2559
การครอบครองนั้นมีลักษณะเป็นการ “ครอบครองเพื่อตน” มิใช่ ครอบครองแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นผู้อาศัยหรือผู้เช่า แม้จะครอบครอบนานเท่าใด ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
แม้ผู้ครอบครองจะเข้าใจว่าที่ดินที่ตนครอบครองเป็นของตน แต่ความจริงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่ ก็หาทำให้สิทธิจากการครอบครองเสียไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6151/2558
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์รวมทั้งทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยครอบครองที่ดินพิพาท โดยสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยสำคัญผิดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินของจำเลยเอง หากแต่ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบุคคลอื่นที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ****หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยจำเลยต้องรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ด้วยไม่******
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๕๖/ ๒๕๕๒
การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ “ยึดถือเพื่อตนเอง” อย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครอง ด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการ “ยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ” ได้หรือไม่
การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่า จำเลยครอบครองโดย มีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยว หรือ ดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่น เป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย จึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์
คราวนี้มาดูเรื่อง ความผิดฐาน “บุกรุก”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 : ( เข้าไปเพื่อถือครอง / เข้าไปเพื่อรบกวนการครอบครอง / ยอมความได้ )
“ผู้ใด เข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๓๖๔ : ( บุกรุกเคหสถาน/ ยอมความได้ )
ผู้ใด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เข้าไป หรือ ซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้าม มิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๖๕ : ( บุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์ โทษหนักขึ้น และยอมความไม่ได้ )
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๖๒ มาตรา ๓๖๓ หรือมาตรา ๓๖๔ ได้กระทำ
(๑) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
(๒) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือ
(๓) ในเวลากลางคืน
ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นได้ว่า การเข้าไปบุกรุกที่ดิน, ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น หรือ อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาต หรือ ยินยอม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อถือครอง เพื่อรบกวนการครอบครองที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เคหสถาน หรืออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข ย่อมเริ่มต้นจากการกระทำผิดต่อกฎหมายอาญาฐาน “บุกรุก” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๒ – ๓๖๕ ซึ่งมีโทษจำคุกและปรับ หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ,ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ,เคหสถาน หรือ อสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้โต้แย้ง คัดค้าน หรือดำเนินคดี ผู้บุกรุก ผู้ครอบครอง ผู้รบกวนการครอบครอง และหากผู้บุกรุกนั้น ได้ครอบครองที่ดิน ,ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, เคหสถาน, อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยสงบ โดยเปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ผู้นั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เคหสถาน, อสังหาริมทรัพย์นั้น โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ ดังที่ได้กล่าวแล้ว
ส่วนจะเป็นธรรมสำหรับผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ ที่อยู่อยู่ก็มีผู้มาครอบครองปรปักษ์แล้วได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน , ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของเราไป
หรือ จะคุ้มหรือไม่ หากยอมเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีในความผิดฐาน “ บุกรุก” ซึ่งมีโทษจำคุกหรือ ปรับ แล้วได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ,ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่นฟรี ฟรี…
ท่านลองคิดดู.....
*นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
(อดีต) รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (คนที่สอง) ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร