บทความทางกฎหมายโดยอัยการวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ เรื่อง โยนบก (แมวนะ ไม่ใช่ค้างคาว)
สืบเนื่องจากข่าว “ เด็ก ป.๒ (อายุ ๑๑ ปี) จับแมวโยนลงมาจากตึก สองรอบจนแมวขาหัก ไม่สามารถคลานหนีไปไหนได้ แต่กลับถูกเด็ก ป.๒ เอาหินยัดปากแมวซ้ำอีก จนในที่สุดแมวตัวดังกล่าวถึงแก่ความตาย”
ท่านกลางเสียงวิพากวิจารณ์ถึง หัวจิตหัวใจของเด็กคนดังกล่าวว่า
“ ทำไมจึงเหี้ยมโหดขนาดนั้น หากเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ ยังไม่ได้รักษาอาการป่วยทางจิตดังกล่าวแล้ว อนาคตเขาจะเป็นเช่นใด จะไปก่อเหตุอะไรในอนาคตหรือไม่”
มาดูข้อกฎหมายกันว่า
(๑) การที่เด็กคนดังกล่าว โยนแมวซึ่งเป็น สัตว์เลี้ยง ลงมาจากตึกสูง จำนวน ๒ ครั้ง และยังเอาหินยัดเข้าไปในปากแมวตัวดังกล่าว จนกระทั่งแมวถึงแก่ความตาย จะเป็นการทารุณกรรมสัตว์ หรือไม่ และจะเป็นความผิดตามกฎหมายใด และมีโทษตามกฎหมายอย่างไร
(๒) เด็กอายุ ๑๑ ปี (ยังไม่เกิน ๑๕ ปี) ทำความผิดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เด็กนั้นจะต้องรับผิดหรือไม่
ประเด็นที่หนึ่ง – การที่เด็กจับแมวแล้วโยนแมวลงมาจากที่สูงจนแมวตกลงมากระแทกกับพื้นจนกระทั่งขาหัก ไม่สามารถหลบหนี หรือ เคลื่อนไหวเพื่อไม่ให้ถูกจับขึ้นไปโยนซ้ำเป็นครั้งที่สองได้ และยังถูกเอาก้อนหินยัดเข้าไปในปากอีก จนกระทั่งแมวเสียชีวิต “ ย่อมเป็นการทารุณกรรมสัตว์”
พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครอง “สัตว์” โดยแบ่งเป็น สัตว์บ้าน, สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน, สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ ,สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน, สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร, สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด
มาตรา ๒๐ “ ห้ามมิให้ ผู้ใดกระทำการอันเป็น การทารุณกรรมสัตว์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาดูว่า แค่ไหน เพียงใด จึงจะถือว่าเป็น “การทารุณกรรมสัตว์ ”
(๑.) เป็นการกระทำ หรือ งดเว้นการกระทำใดๆ ที่ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย
(๒.) ให้หมายความรวมถึง การใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชรา หรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้อง เพื่อแสวงหาประโยชน์ รวมถึง การใช้สัตว์ประกอบกามกิจ ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควร หรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วย ชรา หรืออ่อนอายุ
ข้อยกเว้น ในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่า เป็นการทารุณกรรมสัตว์ ( มาตรา ๒๑)
(๑) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารเฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
(๒) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
(๓) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา
(๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่ จำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
(๕) การกระทำใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์โดย ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ หรือ ผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภา
นอกจากกฎหมายจะห้ามมิให้ทารุณกรรมสัตว์แล้ว กฎหมายยังห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งการกระทำดังกล่าว ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองให้แก่ ผู้ซึ่งจะนำสัตว์ไปดูแลแทน
กฎหมายฉบับนี้ ยังกำหนดให้ “อธิบดีกรมปศุสัตว์” มีอำนาจเปรียบเทียบได้ ( เฉพาะแต่ในบรรดาความผิดซึ่งมีโทษปรับสถานเดียวเท่านั้น ) และ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับ ตามจำนวนที่เปรียบเทียบ ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ก็ให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๗ , ๓๙
หรือ ให้ดำเนินคดีต่อไป กรณีที่ผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือ เมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด
การทารุณสัตว์ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้เลี้ยง ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ประโยชน์จากสัตว์ ไม่มีความเข้าใจถึงความหมายและขอบเขตของการทารุณสัตว์ รวมถึงบทบาทการอยู่ร่วมกันระหว่าง มนุษย์กับสัตว์อย่างชัดเจน
การทารุณกรรมสัตว์ จึงเป็นการทำให้สัตว์เกิดความทุกข์ทรมาน ผลจากการทารุณกรรมสัตว์สามารถวัดได้ในลักษณะของ ระดับความเครียดการบาดเจ็บ โรคภัยหรือความพิการที่ปรากฏขึ้น นั่นคือ
“ ความทรมานที่สัตว์ได้รับ”
กรณีตามข่าว การที เด็ก ป. ๒ อายุ ๑๑ ปี จับแมวแล้วโยนแมวลงมาจากที่สูง ( แม้ว่าแมวจะเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณ และการป้องกันตัว เมื่อตกมาจากที่สูงก็ตาม แต่การจับแมว แล้วโยนแมวลงมาจากที่สูงในลักษณะทันทีทันใด แมวก็อาจไม่ทันได้ตั้งตัว หรือใช้สัญชาตญาณเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ได้รับบาดเจ็บจากการตกจากที่สูงจนเป็นเหตุให้แมวตัวดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ ขาอาจหัก หรือผิดรูป จนไม่สามารถเคลื่อนไหว เดิน หรือคลานได้อย่างปกติ
นอกกจากนี้ เมื่อแมวตัวดังกล่าวเกิดอาการดังกล่าวแล้ว ย่อมไม่สามารถหลบหนี หรือ เดิน หรือคลานหลบหนีได้ทัน จึงถูกเด็กคนดังกล่าวจับขึ้นไปโยนลงมาจากที่สูงอีกครั้งเป็นครั้งที่สอง และจากภาพที่บันทึกจากกล้องวงจรปิด มีลักษณะเหมือนการยัดก้อนหินเข้าไปในปากแมว จนในที่สุดแมวตัวดังกล่าวเสียชีวิตไป อันเป็นการทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน และยังเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ตามบทนิยามความหมาย และ องค์ประกอบความผิด ที่ว่า
ห้ามมิให้ ผู้ใดกระทำการอันเป็น การทารุณกรรมสัตว์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
หากฝ่าฝืน มีโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประเด็นที่สอง เด็กอายุ ๑๑ ปี (ยังไม่เกิน ๑๕ ปี) ทำความผิดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เด็กนั้นจะต้องรับผิดหรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เด็กอายุไม่เกิน ๑๒ ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ"
มาตรา ๗๔ บัญญัติว่า "เด็กอายุกว่า ๑๒ ปีแต่ยังไม่เกิน ๑๕ ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑.) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
(๒.) ถ้าศาลเห็นว่าบิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้น ไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน ๓ ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ ๑๐,๐๐๐ บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น
(๓) ส่งตัวเด็กนั้นไปยัง สถานศึกษา หรือ สถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้น เพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่ให้เกินกว่าวันที่เด็กนั้นจะมีอายุครบ ๑๘ ปี
จะเห็นได้ว่า แม้การกระทำของเด็ก ป.๒ ( อายุ ๑๑ ปี) จะได้กระทำการทารุณกรรมสัตว์อันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ มาตรา ๒๐ ซึ่งมีระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แต่ด้วยเหตุผลทางอายุผู้กระทำความผิดในคดีนี้ เป็นเด็กอายุ ๑๑ ปี ยังไม่เกิน ๑๒ ปี จึงยังไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๓
จึงเกิดคำถามในสังคมว่า
(๑) เมื่อเด็กไม่ต้องรับโทษ แล้ว แมวของฉันหละ ใครจะรับผิดชอบในความตายของแมวของฉัน ?
(๒) เหตุใด เด็กคนนี้จึงได้มีพฤติกรรมในลักษณะเช่นนี้ เด็กมีอาการป่วยทางจิต หรือไม่ อย่างไร และหากมี จะต้องทำการรักษาอาการป่วยทางจิตของเด็กคนนี้อย่างไร และใครจะเป็นผู้ดำเนินการ (หากพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กไม่ดำเนินการ )
(๓) สังคม หรือชุมชนจะกดดัน เด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กคนนี้หรือไม่ อย่างไร
คราวนี้มาดูแนวคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับ “การทารุณกรรมสัตว์”
(๑) คดี“ ฟันหน้า “เจ้าก้านกล้วย” หมาไล่ไก่” มีบาดแผลฉกรรจ์ที่หน้าด้านขวา ต้องเย็บมากกว่า ๑๐๐ เข็ม ศาลจังหวัดหนองคาย ได้ตัดสินความผิดให้จำคุก ๑ ปี และปรับ ๒,๐๐๐ บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา ๑ ปี
(๒) คดีพิเรนท์ “ฆ่า-กิน หมา โพสต์โชว์เฟซบุ๊ก” ศาลจังหวัดมุกดาหาร พิพากษา ให้จำคุก ๓ เดือน และปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท (คนฆ่าหมา ศาลไม่รอการลงโทษจำคุก ส่วนมือโพสต์โชว์ ศาลให้รอลงอาญา)
(๓) คดี “สาวประเภทสอง โยน ชิวาวา ตกตึก” ศาลแขวงพระนครเหนือ ตัดสินให้จำคุก ๒ เดือนโดยไม่รอลงอาญา เพราะพฤติกรรมนั้นทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานและเจ็บปวดจนตาย และทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ศาลจึงเห็นว่าไม่มีเหตุให้ลดโทษ *****
(๔) “คดียิงหมา หน้าห้างอิมพีเรียล” คดีนี้ ศาลจำคุก ๖ เดือน และปรับ ๕,๐๐๐ บาท ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ พ.ศ.๒๕๕๗ และลงโทษตามข้อหาอื่น คือ พ.ร.บ.อาวุธปืน ด้วย รวมโทษทั้งสิ้น จำคุก ๑๔ เดือน หรือ ๑ ปี ๒ เดือน และปรับ ๗,๕๐๐ บาท แต่ให้รอลงอาญาและคุมความประพฤติเป็นเวลา ๑ ปี และให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณะประโยชน์เป็นเวลา ๑๒ ชั่วโมง
(๕) คดี “พ่อค้าข้าวมันไก่ แทงเจ้าขาว” เป็นคดีทารุณกรรมสัตว์ อีกเรื่องที่สะเทือนใจผู้คนในสังคมไม่น้อย เมื่อได้เห็นภาพจากกล้องวงจรปิด ที่มีการแชร์คลิปในสื่อโซเชียล ที่ “เจ้าขาว”สุนัขพันธุ์ไทย เพศผู้ ต้องทรมานก่อนตาย ศาลแขวงพระนครเหนือ พิพากษาให้ จำคุก ๔ เดือน แต่จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกเป็นเวลา ๒ เดือน โดยโทษจำคุกให้เปลี่ยนเป็นโทษกักขัง ๒ เดือน
จะเห็นได้ว่า คดี ตาม“พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ พ.ศ.๒๕๕๗” ศาลลงโทษ หนัก-เบา ต่างกันไป ...“ ถูกจำคุกจริง หรือ รอลงอาญา” ก็แล้วแต่พฤติการณ์ที่ได้ลงมือกระทำว่ารุนแรงมากน้อยแค่ไหน และความสำนึกผิดต่อสิ่งที่ได้กระทำนั้น
แต่หากเป็น “ ทำร้ายร่างกายคน” หละ ความผิดจะเป็นเช่นไร
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๙๕ ผู้ใด ทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน “ทำร้ายร่างกาย” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในขณะที่ “ การกระทำทารุณกรรมสัตว์”ตาม“พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ พ.ศ.๒๕๕๗
มาตรา ๒๐ “ ห้ามมิให้ ผู้ใดกระทำการอันเป็น การทารุณกรรมสัตว์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นได้ว่า กฎหมายทั้งสองฉบับบัญญัติระวางโทษ เท่ากัน คือ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท แต่ในคดีทารุณกรรมสัตว์ (บางคดี) ศาลไม่รอการลงโทษจำคุก และในบางคดีของการทำร้ายร่างกาย (คน) ตามประมวลกฎหมายอาญา ศาลกลับพิพากษา “ รอการลงโทษ”อันอาจทำให้ดูเหมือนว่า การทารุณกรรมสัตว์ มีอัตราโทษที่หนักกว่าการทำร้ายร่างกายมนุษย์ ( คน) เสียอีก แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะ ความผิดฐาน “ ทำร้ายร่างกายคน” นั้นมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน และอัตราโทษตามกฎหมายก็แตกต่างกัน เช่น
มาตรา ๒๙๕ ทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๗ “ ทำร้ายรับอันตรายสาหัส” ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๖ เดือนถึง ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาทถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๒๙๐ . (ทำร้ายถึงตาย) "ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปีถึง ๑๕ ปี ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปีถึง ๒๐ ปี"
ในขณะที่ การทารุณกรรมสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับการทรมาน ไม่ว่าสัตว์นั้นจะตาย หรือไม่ตายกฎหมายก็บัญญัติระวางโทษเท่ากัน คือ
“ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ส่วนศาลจะพิพากษา “ รอการลงโทษจำคุก” หรือ “ไม่รอการลงโทษจำคุก” ขึ้นอยู่กับ พฤติการณ์ในการกระทำทารุณกรรมสัตว์ และการสำนึกผิดต่อการกระทำทารุณกรรมสัตว์ ดังที่ได้กล่าวแล้ว
ฉะนั้น ไม่ว่า คน หรือ สัตว์ ก็คงไม่มีใครอยากถูกทำร้าย ถูกทรมาน ถูกทารุณกรรมเป็นแน่แท้ คนมีหัวใจ สัตว์ก็มีหัวใจ หยุดการทำร้ายคน หยุดการทรมานสัตว์ คงไม่มีใครอยากถูกทำร้าย คงไม่มีสัตว์ตัวใดอยากถูกทรมาน ถูกทารุณกรรมสัตว์ เป็นแน่แท้
ท่านว่า จริงไหม ?
นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์
อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
(อดีต) รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗
สืบเนื่องจากข่าว “ เด็ก ป.๒ (อายุ ๑๑ ปี) จับแมวโยนลงมาจากตึก สองรอบจนแมวขาหัก ไม่สามารถคลานหนีไปไหนได้ แต่กลับถูกเด็ก ป.๒ เอาหินยัดปากแมวซ้ำอีก จนในที่สุดแมวตัวดังกล่าวถึงแก่ความตาย”
ท่านกลางเสียงวิพากวิจารณ์ถึง หัวจิตหัวใจของเด็กคนดังกล่าวว่า
“ ทำไมจึงเหี้ยมโหดขนาดนั้น หากเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ ยังไม่ได้รักษาอาการป่วยทางจิตดังกล่าวแล้ว อนาคตเขาจะเป็นเช่นใด จะไปก่อเหตุอะไรในอนาคตหรือไม่”
มาดูข้อกฎหมายกันว่า
(๑) การที่เด็กคนดังกล่าว โยนแมวซึ่งเป็น สัตว์เลี้ยง ลงมาจากตึกสูง จำนวน ๒ ครั้ง และยังเอาหินยัดเข้าไปในปากแมวตัวดังกล่าว จนกระทั่งแมวถึงแก่ความตาย จะเป็นการทารุณกรรมสัตว์ หรือไม่ และจะเป็นความผิดตามกฎหมายใด และมีโทษตามกฎหมายอย่างไร
(๒) เด็กอายุ ๑๑ ปี (ยังไม่เกิน ๑๕ ปี) ทำความผิดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เด็กนั้นจะต้องรับผิดหรือไม่
ประเด็นที่หนึ่ง – การที่เด็กจับแมวแล้วโยนแมวลงมาจากที่สูงจนแมวตกลงมากระแทกกับพื้นจนกระทั่งขาหัก ไม่สามารถหลบหนี หรือ เคลื่อนไหวเพื่อไม่ให้ถูกจับขึ้นไปโยนซ้ำเป็นครั้งที่สองได้ และยังถูกเอาก้อนหินยัดเข้าไปในปากอีก จนกระทั่งแมวเสียชีวิต “ ย่อมเป็นการทารุณกรรมสัตว์”
พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครอง “สัตว์” โดยแบ่งเป็น สัตว์บ้าน, สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน, สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ ,สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน, สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร, สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด
มาตรา ๒๐ “ ห้ามมิให้ ผู้ใดกระทำการอันเป็น การทารุณกรรมสัตว์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาดูว่า แค่ไหน เพียงใด จึงจะถือว่าเป็น “การทารุณกรรมสัตว์ ”
(๑.) เป็นการกระทำ หรือ งดเว้นการกระทำใดๆ ที่ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย
(๒.) ให้หมายความรวมถึง การใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชรา หรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้อง เพื่อแสวงหาประโยชน์ รวมถึง การใช้สัตว์ประกอบกามกิจ ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควร หรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วย ชรา หรืออ่อนอายุ
ข้อยกเว้น ในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่า เป็นการทารุณกรรมสัตว์ ( มาตรา ๒๑)
(๑) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารเฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
(๒) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
(๓) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา
(๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่ จำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
(๕) การกระทำใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์โดย ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ หรือ ผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภา
นอกจากกฎหมายจะห้ามมิให้ทารุณกรรมสัตว์แล้ว กฎหมายยังห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งการกระทำดังกล่าว ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองให้แก่ ผู้ซึ่งจะนำสัตว์ไปดูแลแทน
กฎหมายฉบับนี้ ยังกำหนดให้ “อธิบดีกรมปศุสัตว์” มีอำนาจเปรียบเทียบได้ ( เฉพาะแต่ในบรรดาความผิดซึ่งมีโทษปรับสถานเดียวเท่านั้น ) และ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับ ตามจำนวนที่เปรียบเทียบ ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ก็ให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๗ , ๓๙
หรือ ให้ดำเนินคดีต่อไป กรณีที่ผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือ เมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด
การทารุณสัตว์ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้เลี้ยง ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ประโยชน์จากสัตว์ ไม่มีความเข้าใจถึงความหมายและขอบเขตของการทารุณสัตว์ รวมถึงบทบาทการอยู่ร่วมกันระหว่าง มนุษย์กับสัตว์อย่างชัดเจน
การทารุณกรรมสัตว์ จึงเป็นการทำให้สัตว์เกิดความทุกข์ทรมาน ผลจากการทารุณกรรมสัตว์สามารถวัดได้ในลักษณะของ ระดับความเครียดการบาดเจ็บ โรคภัยหรือความพิการที่ปรากฏขึ้น นั่นคือ
“ ความทรมานที่สัตว์ได้รับ”
กรณีตามข่าว การที เด็ก ป. ๒ อายุ ๑๑ ปี จับแมวแล้วโยนแมวลงมาจากที่สูง ( แม้ว่าแมวจะเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณ และการป้องกันตัว เมื่อตกมาจากที่สูงก็ตาม แต่การจับแมว แล้วโยนแมวลงมาจากที่สูงในลักษณะทันทีทันใด แมวก็อาจไม่ทันได้ตั้งตัว หรือใช้สัญชาตญาณเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ได้รับบาดเจ็บจากการตกจากที่สูงจนเป็นเหตุให้แมวตัวดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ ขาอาจหัก หรือผิดรูป จนไม่สามารถเคลื่อนไหว เดิน หรือคลานได้อย่างปกติ
นอกกจากนี้ เมื่อแมวตัวดังกล่าวเกิดอาการดังกล่าวแล้ว ย่อมไม่สามารถหลบหนี หรือ เดิน หรือคลานหลบหนีได้ทัน จึงถูกเด็กคนดังกล่าวจับขึ้นไปโยนลงมาจากที่สูงอีกครั้งเป็นครั้งที่สอง และจากภาพที่บันทึกจากกล้องวงจรปิด มีลักษณะเหมือนการยัดก้อนหินเข้าไปในปากแมว จนในที่สุดแมวตัวดังกล่าวเสียชีวิตไป อันเป็นการทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน และยังเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ตามบทนิยามความหมาย และ องค์ประกอบความผิด ที่ว่า
ห้ามมิให้ ผู้ใดกระทำการอันเป็น การทารุณกรรมสัตว์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
หากฝ่าฝืน มีโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประเด็นที่สอง เด็กอายุ ๑๑ ปี (ยังไม่เกิน ๑๕ ปี) ทำความผิดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เด็กนั้นจะต้องรับผิดหรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เด็กอายุไม่เกิน ๑๒ ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ"
มาตรา ๗๔ บัญญัติว่า "เด็กอายุกว่า ๑๒ ปีแต่ยังไม่เกิน ๑๕ ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑.) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
(๒.) ถ้าศาลเห็นว่าบิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้น ไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน ๓ ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ ๑๐,๐๐๐ บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น
(๓) ส่งตัวเด็กนั้นไปยัง สถานศึกษา หรือ สถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้น เพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่ให้เกินกว่าวันที่เด็กนั้นจะมีอายุครบ ๑๘ ปี
จะเห็นได้ว่า แม้การกระทำของเด็ก ป.๒ ( อายุ ๑๑ ปี) จะได้กระทำการทารุณกรรมสัตว์อันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ มาตรา ๒๐ ซึ่งมีระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แต่ด้วยเหตุผลทางอายุผู้กระทำความผิดในคดีนี้ เป็นเด็กอายุ ๑๑ ปี ยังไม่เกิน ๑๒ ปี จึงยังไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๓
จึงเกิดคำถามในสังคมว่า
(๑) เมื่อเด็กไม่ต้องรับโทษ แล้ว แมวของฉันหละ ใครจะรับผิดชอบในความตายของแมวของฉัน ?
(๒) เหตุใด เด็กคนนี้จึงได้มีพฤติกรรมในลักษณะเช่นนี้ เด็กมีอาการป่วยทางจิต หรือไม่ อย่างไร และหากมี จะต้องทำการรักษาอาการป่วยทางจิตของเด็กคนนี้อย่างไร และใครจะเป็นผู้ดำเนินการ (หากพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กไม่ดำเนินการ )
(๓) สังคม หรือชุมชนจะกดดัน เด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กคนนี้หรือไม่ อย่างไร
คราวนี้มาดูแนวคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับ “การทารุณกรรมสัตว์”
(๑) คดี“ ฟันหน้า “เจ้าก้านกล้วย” หมาไล่ไก่” มีบาดแผลฉกรรจ์ที่หน้าด้านขวา ต้องเย็บมากกว่า ๑๐๐ เข็ม ศาลจังหวัดหนองคาย ได้ตัดสินความผิดให้จำคุก ๑ ปี และปรับ ๒,๐๐๐ บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา ๑ ปี
(๒) คดีพิเรนท์ “ฆ่า-กิน หมา โพสต์โชว์เฟซบุ๊ก” ศาลจังหวัดมุกดาหาร พิพากษา ให้จำคุก ๓ เดือน และปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท (คนฆ่าหมา ศาลไม่รอการลงโทษจำคุก ส่วนมือโพสต์โชว์ ศาลให้รอลงอาญา)
(๓) คดี “สาวประเภทสอง โยน ชิวาวา ตกตึก” ศาลแขวงพระนครเหนือ ตัดสินให้จำคุก ๒ เดือนโดยไม่รอลงอาญา เพราะพฤติกรรมนั้นทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานและเจ็บปวดจนตาย และทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ศาลจึงเห็นว่าไม่มีเหตุให้ลดโทษ *****
(๔) “คดียิงหมา หน้าห้างอิมพีเรียล” คดีนี้ ศาลจำคุก ๖ เดือน และปรับ ๕,๐๐๐ บาท ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ พ.ศ.๒๕๕๗ และลงโทษตามข้อหาอื่น คือ พ.ร.บ.อาวุธปืน ด้วย รวมโทษทั้งสิ้น จำคุก ๑๔ เดือน หรือ ๑ ปี ๒ เดือน และปรับ ๗,๕๐๐ บาท แต่ให้รอลงอาญาและคุมความประพฤติเป็นเวลา ๑ ปี และให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณะประโยชน์เป็นเวลา ๑๒ ชั่วโมง
(๕) คดี “พ่อค้าข้าวมันไก่ แทงเจ้าขาว” เป็นคดีทารุณกรรมสัตว์ อีกเรื่องที่สะเทือนใจผู้คนในสังคมไม่น้อย เมื่อได้เห็นภาพจากกล้องวงจรปิด ที่มีการแชร์คลิปในสื่อโซเชียล ที่ “เจ้าขาว”สุนัขพันธุ์ไทย เพศผู้ ต้องทรมานก่อนตาย ศาลแขวงพระนครเหนือ พิพากษาให้ จำคุก ๔ เดือน แต่จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกเป็นเวลา ๒ เดือน โดยโทษจำคุกให้เปลี่ยนเป็นโทษกักขัง ๒ เดือน
จะเห็นได้ว่า คดี ตาม“พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ พ.ศ.๒๕๕๗” ศาลลงโทษ หนัก-เบา ต่างกันไป ...“ ถูกจำคุกจริง หรือ รอลงอาญา” ก็แล้วแต่พฤติการณ์ที่ได้ลงมือกระทำว่ารุนแรงมากน้อยแค่ไหน และความสำนึกผิดต่อสิ่งที่ได้กระทำนั้น
แต่หากเป็น “ ทำร้ายร่างกายคน” หละ ความผิดจะเป็นเช่นไร
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๙๕ ผู้ใด ทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน “ทำร้ายร่างกาย” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในขณะที่ “ การกระทำทารุณกรรมสัตว์”ตาม“พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ พ.ศ.๒๕๕๗
มาตรา ๒๐ “ ห้ามมิให้ ผู้ใดกระทำการอันเป็น การทารุณกรรมสัตว์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นได้ว่า กฎหมายทั้งสองฉบับบัญญัติระวางโทษ เท่ากัน คือ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท แต่ในคดีทารุณกรรมสัตว์ (บางคดี) ศาลไม่รอการลงโทษจำคุก และในบางคดีของการทำร้ายร่างกาย (คน) ตามประมวลกฎหมายอาญา ศาลกลับพิพากษา “ รอการลงโทษ”อันอาจทำให้ดูเหมือนว่า การทารุณกรรมสัตว์ มีอัตราโทษที่หนักกว่าการทำร้ายร่างกายมนุษย์ ( คน) เสียอีก แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะ ความผิดฐาน “ ทำร้ายร่างกายคน” นั้นมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน และอัตราโทษตามกฎหมายก็แตกต่างกัน เช่น
มาตรา ๒๙๕ ทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๗ “ ทำร้ายรับอันตรายสาหัส” ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๖ เดือนถึง ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาทถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๒๙๐ . (ทำร้ายถึงตาย) "ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปีถึง ๑๕ ปี ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปีถึง ๒๐ ปี"
ในขณะที่ การทารุณกรรมสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับการทรมาน ไม่ว่าสัตว์นั้นจะตาย หรือไม่ตายกฎหมายก็บัญญัติระวางโทษเท่ากัน คือ
“ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ส่วนศาลจะพิพากษา “ รอการลงโทษจำคุก” หรือ “ไม่รอการลงโทษจำคุก” ขึ้นอยู่กับ พฤติการณ์ในการกระทำทารุณกรรมสัตว์ และการสำนึกผิดต่อการกระทำทารุณกรรมสัตว์ ดังที่ได้กล่าวแล้ว
ฉะนั้น ไม่ว่า คน หรือ สัตว์ ก็คงไม่มีใครอยากถูกทำร้าย ถูกทรมาน ถูกทารุณกรรมเป็นแน่แท้ คนมีหัวใจ สัตว์ก็มีหัวใจ หยุดการทำร้ายคน หยุดการทรมานสัตว์ คงไม่มีใครอยากถูกทำร้าย คงไม่มีสัตว์ตัวใดอยากถูกทรมาน ถูกทารุณกรรมสัตว์ เป็นแน่แท้
ท่านว่า จริงไหม ?
นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์
อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
(อดีต) รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗