กองทัพเรือ อัญเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำเพื่อเตรียมการในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 19.00 น. กองทัพเรือ ได้จัดให้มีการอัญเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เพื่อเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 โดยเมื่อเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ถูกอัญเชิญลงจากคาน นายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พร้อมกำลังพลประจำเรือ ได้ประกอบพิธีจุดธูปเทียนไหว้แม่ย่านางเรือ และถวายบังคมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นจึงเคลื่อนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ จากคลองบางกอกน้อย
ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งหน้าสู่ อู่ทหารเรือธนบุรี ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ในเส้นทางสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (สถานีรถไฟบางกอกน้อยเดิม) โรงพยาบาลศิริราช ท่ามหาราช ท่าช้าง วัดระฆังโฆษิตาราม ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงเข้าจอดยังอู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี ทั้งนี้ การอัญเชิญเรือพระที่นั่งลงน้ำ
ในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งจำนวน 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ โดยจะอัญเชิญลงน้ำและเข้าจอด ณ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ระหว่างวันที่ 4 - 7 กรกฎาคม 2567 วันละ 1 ลำ ตามลำดับ
สำหรับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ทราบได้จาก บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ที่ส่งประพันธ์ไว้ว่า
“สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม”
สำหรับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลำปัจจุบันนี้ เป็นเรือสร้างใหม่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่แล้วเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี พลเรือตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนาวาสถาปนิกผู้ต่อเรือสุพรรณหงส์ โดยจัดให้มีการประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 โขนหัวเรือจำหลักเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก มีพู่จามรีห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ตอนกลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาหรือบุษบกไว้สำหรับเป็นที่ประทับ เรือมีความยาวตลอดลำ 44.90 เมตร กว้าง 7.17 เมตร ลึก 0.94 เมตร ใช้กำลังพลรวม จำนวน 71 นาย แยกเป็นกำลังพลประจำเรือ 64 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 50 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนขานยาว 1 นาย คนถือฉัตร 7 นาย และเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง จำนวน 7 นาย
และในวันที่ 4 มิถุนายน 2535 องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ได้พิจารณามอบรางวัลเรือโลก แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยคณะกรรมการองค์การ World Ship Trust เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เหรียญรางวัลมรดกทางทะเล ขององค์การเรือโลกประจำปี พ.ศ.2535 (The World Ship Trust Heritage Award “Suphannahong Royal Barge”) จากนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าวแก่ อธิบดีกรมศิลปากรในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลรักษาเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
ทั้งนี้ ในวันที่ 28 – 29 กรกฎาคม 2567 กองทัพเรือ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญเรือพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช จัดแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยจัดการแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือฯ วันละ 2 รอบ โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 จัดการแสดง เวลา 15.00 น. และ 20.00 น. ในส่วนของวันที่ 29 กรกฎาคม 2567 จัดการแสดง เวลา 17.00 น. และ 20.00 น. พร้อมทั้งจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ณ บริเวณท่าราชวรดิฐ
ในส่วนของการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธี จะเริ่มทำการซ้อมย่อยเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 10 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 4 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 5 ในวันที่ 3 กันยายน 2567
ครั้งที่ 6 ในวันที่ 12 กันยายน 2567
ครั้งที่ 7 ในวันที่ 19 กันยายน 2567
ครั้งที่ 8 ในวันที่ 26 กันยายน 2567
ครั้งที่ 9 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567
ครั้งที่ 10 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2567
จากนั้นจะเป็นการซ้อมใหญ่ จำนวน 2 ครั้งในวันที่ 15 และ 22 ตุลาคม และซ้อมเก็บความเรียบร้อยในวันที่ 24 ตุลาคม โดยประชาชนที่มีความสนใจรับชมการฝึกซ้อมฝีพายและความงดงามของขบวนเรือพระราชพิธี
ที่นับว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก สามารถรับชมได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8จนถึง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567ซึ่งกองทัพเรือ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ในการเตรียมการทั้งการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพาย การซ่อมบำรุงเรือ การจัดเตรียมบทเห่เรือ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สง่างาม และสมพระเกียรติสูงสุด
กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 19.00 น. กองทัพเรือ ได้จัดให้มีการอัญเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เพื่อเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 โดยเมื่อเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ถูกอัญเชิญลงจากคาน นายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พร้อมกำลังพลประจำเรือ ได้ประกอบพิธีจุดธูปเทียนไหว้แม่ย่านางเรือ และถวายบังคมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นจึงเคลื่อนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ จากคลองบางกอกน้อย
ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งหน้าสู่ อู่ทหารเรือธนบุรี ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ในเส้นทางสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (สถานีรถไฟบางกอกน้อยเดิม) โรงพยาบาลศิริราช ท่ามหาราช ท่าช้าง วัดระฆังโฆษิตาราม ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงเข้าจอดยังอู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี ทั้งนี้ การอัญเชิญเรือพระที่นั่งลงน้ำ
ในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งจำนวน 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ โดยจะอัญเชิญลงน้ำและเข้าจอด ณ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ระหว่างวันที่ 4 - 7 กรกฎาคม 2567 วันละ 1 ลำ ตามลำดับ
สำหรับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ทราบได้จาก บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ที่ส่งประพันธ์ไว้ว่า
“สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม”
สำหรับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลำปัจจุบันนี้ เป็นเรือสร้างใหม่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่แล้วเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี พลเรือตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนาวาสถาปนิกผู้ต่อเรือสุพรรณหงส์ โดยจัดให้มีการประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 โขนหัวเรือจำหลักเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก มีพู่จามรีห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ตอนกลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาหรือบุษบกไว้สำหรับเป็นที่ประทับ เรือมีความยาวตลอดลำ 44.90 เมตร กว้าง 7.17 เมตร ลึก 0.94 เมตร ใช้กำลังพลรวม จำนวน 71 นาย แยกเป็นกำลังพลประจำเรือ 64 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 50 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนขานยาว 1 นาย คนถือฉัตร 7 นาย และเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง จำนวน 7 นาย
และในวันที่ 4 มิถุนายน 2535 องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ได้พิจารณามอบรางวัลเรือโลก แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยคณะกรรมการองค์การ World Ship Trust เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เหรียญรางวัลมรดกทางทะเล ขององค์การเรือโลกประจำปี พ.ศ.2535 (The World Ship Trust Heritage Award “Suphannahong Royal Barge”) จากนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าวแก่ อธิบดีกรมศิลปากรในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลรักษาเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
ทั้งนี้ ในวันที่ 28 – 29 กรกฎาคม 2567 กองทัพเรือ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญเรือพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช จัดแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยจัดการแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือฯ วันละ 2 รอบ โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 จัดการแสดง เวลา 15.00 น. และ 20.00 น. ในส่วนของวันที่ 29 กรกฎาคม 2567 จัดการแสดง เวลา 17.00 น. และ 20.00 น. พร้อมทั้งจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ณ บริเวณท่าราชวรดิฐ
ในส่วนของการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธี จะเริ่มทำการซ้อมย่อยเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 10 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 4 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567
ครั้งที่ 5 ในวันที่ 3 กันยายน 2567
ครั้งที่ 6 ในวันที่ 12 กันยายน 2567
ครั้งที่ 7 ในวันที่ 19 กันยายน 2567
ครั้งที่ 8 ในวันที่ 26 กันยายน 2567
ครั้งที่ 9 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567
ครั้งที่ 10 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2567
จากนั้นจะเป็นการซ้อมใหญ่ จำนวน 2 ครั้งในวันที่ 15 และ 22 ตุลาคม และซ้อมเก็บความเรียบร้อยในวันที่ 24 ตุลาคม โดยประชาชนที่มีความสนใจรับชมการฝึกซ้อมฝีพายและความงดงามของขบวนเรือพระราชพิธี
ที่นับว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก สามารถรับชมได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8จนถึง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567ซึ่งกองทัพเรือ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ในการเตรียมการทั้งการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพาย การซ่อมบำรุงเรือ การจัดเตรียมบทเห่เรือ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สง่างาม และสมพระเกียรติสูงสุด
กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ