ประวัติ พลเรือโท นเรศ วงศ์ตระกูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 และ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 2
พลเรือโท นเรศ วงศ์ตระกูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ เป็น ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567
พลเรือโท นเรศ ฯ เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 26 และ นักเรียนนายเรือ รุ่นที่ 83 สำเร็จการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากโรงเรียนนายเรือ เมื่อ พ.ศ.2533 และได้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งทางทหารและพลเรือนมาอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการรับราชการ ได้แก่ หลักสูตรนายทหารพรรคนาวิน (มีผลการศึกษาลำดับที่ 1 ของรุ่น และ คะแนนเกียรตินิยม) หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ (มีผลการศึกษาลำดับที่ 1 ของรุ่น และ คะแนนเกียรตินิยม) หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ (มีผลการศึกษาลำดับที่ 1 ของรุ่น และ คะแนนเกียรตินิยม) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 64 รวมทั้ง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนั้น ยังเคยไปศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ในต่างประเทศ ได้แก่ หลักสูตร Surface Warfare Officer Department Head Operations Specialty International ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร Naval Command College ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร Combined Force Maritime Component Commander ประเทศสหรัฐอเมริกา และ หลักสูตร Defence Resources Management ประเทศสหรัฐอเมริกา
พลเรือโท นเรศ ฯ เคยรับราชการในตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ผู้บังคับการเรือ ต.18 ผู้บังคับการเรือ ต.98 ผู้บังคับการเรือหลวงตากใบ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารเรือ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ และ รองเสนาธิการทหารเรือ โดยเคยปฏิบัติราชการสำคัญในต่างประเทศในตำแหน่ง ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และ ผู้สังเกตการณ์ทางทหาร ในกองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดน อิรัก - คูเวต
ในฐานะผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 และ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 2 ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย ตั้งแต่แนวชายฝั่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และ จังหวัดนราธิวาส ออกไปในทะเลจนถึงเขตติดต่อกับน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 3 ประเทศ คือ กัมพูชา เวียดนาม และ มาเลเซียพลเรือโท นเรศฯ ได้มอบแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อให้หน่วยต่าง ๆ ภายใต้การบังคับบัญชา สามารถปฏิบัติภารกิจในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตลอดจน การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ รวมทั้ง การพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน โดยได้ยึดถือและนำนโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือ ภายใต้กรอบแนวคิด "เทิดทูนสถาบัน ป้องกันรัฐ พัฒนาชาติ ราษฎร์ศรัทธา" และ นโยบายของหน่วยเหนือทุกระดับ มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดสำคัญของผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 คือ "พิทักษ์สถาบัน ป้องกันอ่าวไทย สามัคคีรวมใจ ห่วงใยประชาชน" โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติในการปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การดำรงความพร้อมในการตอบโต้ต่อปัญหาและภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยต่าง ๆ ทั้งพื้นที่ในทะลและบนบก รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผนึกกำลังกันปฏิบัติภารกิจที่มีอยู่ นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านสวัสดิการให้แก่กำลังพลชั้นผู้น้อยและครอบครัว ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนกำกับดูแลการปฏิบัติตนของกำลังพลในทุกระดับให้อยู่ในระเบียบวินัย และบูรณาการทรัพยากรของหน่วยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ เพื่อให้หน่วยมีความพร้อม สามารถตอบสนองต่อการปฏิบัติภารกิจที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างผลผลิตให้กองทัพเรือ เป็น "กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ" ตามวิสัยทัศน์ของกองทัพเรือ และสามารถตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์จากทะเลของประเทศไทยทั้งด้านความมั่นคงและความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน ตามคติพจน์ประจำชาติ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ที่ถูกกำหนดไว้
พลเรือโท นเรศ วงศ์ตระกูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ เป็น ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567
พลเรือโท นเรศ ฯ เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 26 และ นักเรียนนายเรือ รุ่นที่ 83 สำเร็จการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากโรงเรียนนายเรือ เมื่อ พ.ศ.2533 และได้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งทางทหารและพลเรือนมาอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการรับราชการ ได้แก่ หลักสูตรนายทหารพรรคนาวิน (มีผลการศึกษาลำดับที่ 1 ของรุ่น และ คะแนนเกียรตินิยม) หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ (มีผลการศึกษาลำดับที่ 1 ของรุ่น และ คะแนนเกียรตินิยม) หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ (มีผลการศึกษาลำดับที่ 1 ของรุ่น และ คะแนนเกียรตินิยม) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 64 รวมทั้ง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนั้น ยังเคยไปศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ในต่างประเทศ ได้แก่ หลักสูตร Surface Warfare Officer Department Head Operations Specialty International ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร Naval Command College ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร Combined Force Maritime Component Commander ประเทศสหรัฐอเมริกา และ หลักสูตร Defence Resources Management ประเทศสหรัฐอเมริกา
พลเรือโท นเรศ ฯ เคยรับราชการในตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ผู้บังคับการเรือ ต.18 ผู้บังคับการเรือ ต.98 ผู้บังคับการเรือหลวงตากใบ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารเรือ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ และ รองเสนาธิการทหารเรือ โดยเคยปฏิบัติราชการสำคัญในต่างประเทศในตำแหน่ง ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และ ผู้สังเกตการณ์ทางทหาร ในกองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดน อิรัก - คูเวต
ในฐานะผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 และ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 2 ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย ตั้งแต่แนวชายฝั่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และ จังหวัดนราธิวาส ออกไปในทะเลจนถึงเขตติดต่อกับน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 3 ประเทศ คือ กัมพูชา เวียดนาม และ มาเลเซียพลเรือโท นเรศฯ ได้มอบแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อให้หน่วยต่าง ๆ ภายใต้การบังคับบัญชา สามารถปฏิบัติภารกิจในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตลอดจน การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ รวมทั้ง การพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน โดยได้ยึดถือและนำนโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือ ภายใต้กรอบแนวคิด "เทิดทูนสถาบัน ป้องกันรัฐ พัฒนาชาติ ราษฎร์ศรัทธา" และ นโยบายของหน่วยเหนือทุกระดับ มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดสำคัญของผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 คือ "พิทักษ์สถาบัน ป้องกันอ่าวไทย สามัคคีรวมใจ ห่วงใยประชาชน" โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติในการปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การดำรงความพร้อมในการตอบโต้ต่อปัญหาและภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยต่าง ๆ ทั้งพื้นที่ในทะลและบนบก รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผนึกกำลังกันปฏิบัติภารกิจที่มีอยู่ นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านสวัสดิการให้แก่กำลังพลชั้นผู้น้อยและครอบครัว ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนกำกับดูแลการปฏิบัติตนของกำลังพลในทุกระดับให้อยู่ในระเบียบวินัย และบูรณาการทรัพยากรของหน่วยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ เพื่อให้หน่วยมีความพร้อม สามารถตอบสนองต่อการปฏิบัติภารกิจที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างผลผลิตให้กองทัพเรือ เป็น "กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ" ตามวิสัยทัศน์ของกองทัพเรือ และสามารถตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์จากทะเลของประเทศไทยทั้งด้านความมั่นคงและความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน ตามคติพจน์ประจำชาติ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ที่ถูกกำหนดไว้