กห. ขานรับนโยบายรัฐบาล เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด ป้องกัน สกัดกั้น ฟื้นฟู ร่วมโครงการธวัชบุรีโมเดล จ.ร้อยเอ็ด บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดนำร่องเพื่อใช้ทั่วประเทศ
พลตรีธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า วานนี้ (1 พ.ย.67) ณ วัดบ้านเขวาทุ่ง ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมสั่งการโมเดลการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 1 ใน 25 จังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่นำร่องจังหวัดสีขาวทั่วประเทศ
โดยรัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดถือเป็นวาระแห่งชาติ และขอให้ทุกภาคส่วนมุ่งมั่นดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป พร้อมยกระดับให้เข้มข้นขึ้น ขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ตามภูมิภาค โดยมีจังหวัดนำร่อง 10 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ : เชียงใหม่ ภาคกลาง : อุทัยธานี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : สกลนคร นครพนม ภาคตะวันออก : ระยอง ภาคใต้ : นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส โดยต้องเป็นพิ้นที่ปลอดยาเสพติด หรือ ปัญหายาเสพติดลดลงกว่าร้อยละ90 ซึ่งการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปทุกหน่วยงานต้องบูรณาการร่วมกันทั้งในการป้องกัน สกัดกั้น และฟื้นฟู รวมถึงต้องมีการพัฒนาเชื่อมระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบนโยบายจึงได้สั่งการให้เหล่าทัพใช้เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ และทรัพยากรที่มีในการป้องปราม ป้องกัน สกัดกั้นยาเสพติดแนวพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ตอนในของประเทศ การกวดขันกวาดล้าง ตัดวงจรการค้ายาเสพติด รวมถึงการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีและสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชน ตลอดจนการเตรียมสถานพยาบาลในสังกัดของเหล่าทัพในการฟื้นฟู รักษาบำบัดผู้ติดยาเสพติด ทั้งนี้ นรม. ได้มอบหมายให้ รอง นรม./รมว.กห. ร่วมบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มสถานพยาบาลจัดทำโมเดลบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โครงการธวัชบุรีโมเดล เป็นพื้นที่นำร่องในการบำบัด ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างครบวงจร ครอบคลุมถึงสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่แข็งแรง รวมถึงการจัดอบรมพัฒนาทักษะสร้างอาชีพเพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้มีทักษะ ความรู้ สามารถประกอบอาชีพ เลี้ยงชีพและอยู่ร่วมในสังคมได้
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหม ได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งด้านการป้องกันและปราบปราม การสกัดกั้น ความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนการบำบัดรักษามาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมในการบูรณาการร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเข้มงวด จริงจังตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อให้ยาเสพติดหมดไปจากประเทศไทย 2 พฤศจิกายน 2567
พลตรีธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า วานนี้ (1 พ.ย.67) ณ วัดบ้านเขวาทุ่ง ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมสั่งการโมเดลการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 1 ใน 25 จังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่นำร่องจังหวัดสีขาวทั่วประเทศ
โดยรัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดถือเป็นวาระแห่งชาติ และขอให้ทุกภาคส่วนมุ่งมั่นดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป พร้อมยกระดับให้เข้มข้นขึ้น ขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ตามภูมิภาค โดยมีจังหวัดนำร่อง 10 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ : เชียงใหม่ ภาคกลาง : อุทัยธานี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : สกลนคร นครพนม ภาคตะวันออก : ระยอง ภาคใต้ : นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส โดยต้องเป็นพิ้นที่ปลอดยาเสพติด หรือ ปัญหายาเสพติดลดลงกว่าร้อยละ90 ซึ่งการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปทุกหน่วยงานต้องบูรณาการร่วมกันทั้งในการป้องกัน สกัดกั้น และฟื้นฟู รวมถึงต้องมีการพัฒนาเชื่อมระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบนโยบายจึงได้สั่งการให้เหล่าทัพใช้เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ และทรัพยากรที่มีในการป้องปราม ป้องกัน สกัดกั้นยาเสพติดแนวพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ตอนในของประเทศ การกวดขันกวาดล้าง ตัดวงจรการค้ายาเสพติด รวมถึงการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีและสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชน ตลอดจนการเตรียมสถานพยาบาลในสังกัดของเหล่าทัพในการฟื้นฟู รักษาบำบัดผู้ติดยาเสพติด ทั้งนี้ นรม. ได้มอบหมายให้ รอง นรม./รมว.กห. ร่วมบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มสถานพยาบาลจัดทำโมเดลบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โครงการธวัชบุรีโมเดล เป็นพื้นที่นำร่องในการบำบัด ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างครบวงจร ครอบคลุมถึงสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่แข็งแรง รวมถึงการจัดอบรมพัฒนาทักษะสร้างอาชีพเพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้มีทักษะ ความรู้ สามารถประกอบอาชีพ เลี้ยงชีพและอยู่ร่วมในสังคมได้
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหม ได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งด้านการป้องกันและปราบปราม การสกัดกั้น ความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนการบำบัดรักษามาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมในการบูรณาการร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเข้มงวด จริงจังตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อให้ยาเสพติดหมดไปจากประเทศไทย 2 พฤศจิกายน 2567